กลุ่มคนชาติพันธุ์หน้าตาเป็นแบบไหน
คุณรู้จักชาติพันธุ์ไหนบ้าง ?
กดเลือกชาติพันธุ์ให้ถูกต้อง
ภาพจำกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างไร ?
ชาติพันธุ์คือใคร ใช่เราหรือไม่ ?
สำรวจกลุ่มชาติพันธุ์
4,011 ชุมชน หรือราว
หรือสมัย ร.5 ชนชั้นนำของสยามใช้คำเรียกรวม ๆ ว่า
“ชาวป่า” หรือ “คนป่า”
คำว่า “ชาวเขา”
ปรากฏครั้งแรกในพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ 2 เรื่อง คือพระราชพงศาวดารพม่า (พ.ศ.2455) และ
พงศาวดารไทยใหญ่ (พ.ศ.2456)
จากการรับคำว่า “Hilltribes” หรือ “Hill people” มาใช้
ช่วงทศวรรษ 2480 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
สังคมไทยเริ่มรับรู้เรื่องราวของชาวเขามากขึ้น
รวมถึงมีการใช้เพื่อเป้าหมายทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับปัญหาความมั่นคง
เกิดอคติ หรือภาพในเชิงลบ
ประวัติศาสตร์ “นโยบายรัฐ” กับ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในไทย
เลื่อนขวาเพื่อดูไทม์ไลน์
แบ่งเป็น 7 ส่วน คือ
นโยบายของรัฐต่อกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย
แต่แรกเริ่ม นโยบายของรัฐ เน้นไปที่การสงเคราะห์และช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า ซึ่งนอกจากมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐานแล้ว ยังมีจุดประสงค์อื่น ๆ เช่น ป้องกันการบุกรุกทำลายป่า, ปราบปรามยาเสพติด และต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์
1 ก.ย. 2483
เริ่มต้นการดำเนินการกับกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า
7 ส.ค. 2499
3 มิ.ย. 2502
อนุมัติให้มีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาขึ้น 4 แห่ง เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าที่อยู่กระจัดกระจายมาอยู่รวมกันเป็นที่ ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกไม้ยืนต้น อุตสาหกรรมในครัวเรือน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน ไม่สามารถอยู่รวมกันได้
จัดตั้งกองสงเคราะห์ชาวเขา สังกัดกรมประชาสงเคราะห์
7 ก.ย. 2508
2 ต.ค. 2511
มีภารกิจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าทุกกรณี จากการที่รัฐเห็นว่า แนวคิดคอมมิวนิสต์แพร่เข้าไปในกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า
15 ธ.ค. 2512
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าที่มีพฤติการณ์เป็นคอมมิวนิสต์ได้
รัฐบาลได้มีการทบทวนนโยบายและวิธีการดำเนินการกับกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าอีกครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ความมั่นคงที่เผชิญอยู่ (ซึ่งคือการแผ่ขยายของแนวคิดคอมมิวนิสต์)
ทำให้เกิดนโยบายรวมพวก เพื่อพัฒนาให้กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าเป็นพลเมืองไทย เน้นไปที่การส่งเสริมให้รักชาติและสร้างความจงรักภักดีต่อประเทศ แต่ยังคงมีนโยบายที่ลดการปลูกฝิ่น และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าเหมือนเดิม
6 ก.ค. 2519
ให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่ามากขึ้น มีสาระสำคัญ เช่น สนับสนุนการตั้งถิ่นฐานถาวร ฟื้นฟูธรรมชาติ บริการสาธารณะสุข โภชนาการ และการศึกษา รวมไปถึงพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ช่วยเหลือตัวเองได้
7 ธ.ค. 2525
(1) ด้านการปกครอง : สร้างสำนึกคนไทย จัดระเบียบ ลดการอพยพเข้ามา
(2) ด้านลดการปลูกและเสพฝิ่นโดยเด็ดขาด
(3) ด้านพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม : มีรายได้ กระจายบริการสาธารณสุข
หนึ่งในหน่วยงานสำคัญคือกองทัพไทย ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทด้านกิจการพลเรือนตั้งแต่สมัยสงครามเย็น โดยเฉพาะช่วงทศวรรษ 2520 และเมื่อการต่อสู้กับกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) สิ้นสุดลง ในช่วงต้นทศวรรษ 2530 กองทัพไทยก็มีความพยายามในการแสวงหาและขยายบทบาทต่อไป โดยหนึ่งในนั้นคือบทบาทการอนุรักษ์ป่าไม้ ตามความท้าทายความมั่นคงของรัฐรูปแบบใหม่ กองทัพจึงเริ่มลดแนวคิดให้ราษฎรอาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า และเพิ่มแนวคิดว่าราษฎรในพื้นที่ป่าเป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์ (และการแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการของกองทัพ)
ตัวอย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพื้นที่-ป่า ได้แก่ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 (กำหนดนิยามป่า นำมาสู่การประกาศพื้นที่ป่า), พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503, พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ประกาศป่าประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมบนพื้นที่ป่าของรัฐ มีเงื่อนไขห้ามมิให้ผู้ใดครอบครอง), พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
3 ธ.ค. 2528
มีการกําหนดเป้าหมายว่า รัฐจะต้องเพิ่มพื้นที่ป่าให้ไม่น้อยกว่า 40% ของพื้นที่ประเทศ
เพื่อให้พื้นที่ภาคอีสานมีความอุดมสมบูรณ์ มีการขับไล่ชาวบ้านเพื่อพยายามสยบความเคลื่อนไหวของผู้มีความคิดต่างทางการเมือง คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) รัฐบาลอ้างว่ามีความจำเป็นต้องอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ แต่หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ชาวบ้านหลายครอบครัวได้คืนกลับมายังที่ดินทำกินเดิม
14 ม.ค. 2532
7 ก.พ. 2532
ภายหลังการรัฐประหารโดย รสช. เมื่อ 23 ก.พ. 2534 อานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกฯ ก็ได้มีการดำเนินโครงการต่อ
แม้จะบอกว่าโครงการมีจุดประสงค์เพื่อจัดสรรที่ดินทำกิน ช่วยเหลือผู้ยากไร้ แต่กลับมีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเช่าปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ยูคาลิปตัส มุ่งอพยพราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวน เช่น พื้นที่ป่าสงวนดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์
สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความขัดแย้งต่อประชาชน นำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์กองทัพในทางลบเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม โครงการยุติในช่วงกลางปี 2535 หลังเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
11 ก.พ. 2535
เพื่อเป็นกรอบการปฏิบัติงานในการพัฒนาพื้นที่สูง
10 มี.ค. 2535
30 มิ.ย. 2541
โดยเปิดให้ประชาชนยื่นคําร้องแจ้งการครอบครองที่ดินที่อยู่ในเขตป่า และกรมป่าไม้จะทําการพิสูจน์สิทธิ์ แต่ก็ยังมีการยึดเงื่อนไขตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ พ.ศ. 2535 อยู่
ในทางปฏิบัติแล้วจึงมีผลจํากัดสิทธิ์มากกว่าให้สิทธิ์ และการพิสูจน์สิทธิ์มีผลเป็นการยึดคืนพื้นที่ทํากินของชาวบ้านมาเป็นของรัฐ
2 ต.ค. 2545
มีการจัดตั้งกลุ่มประสานการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นที่สูง เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาและสงเคราะห์กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า (ปัจจุบันคือสำนักพัฒนาสังคม) และมีสำนักบริการสวัสดิการสังคม เพื่อรับผิดชอบและสนับสนุนงานกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า เช่น โครงการหลวง
25-28 เม.ย. 2553
2 มิ.ย. และ 3 ส.ค. 2553
12 มิ.ย. 2553
14 มิ.ย. และ 17 มิ.ย. 2557
มีเป้าหมาย คือ จัดการยึดคืนที่ดินจากกลุ่มนายทุนที่เข้ามาบุกรุกใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าโดยมิชอบ เพื่อนำมาฟื้นฟูสภาพป่าหรือดำเนินการจัดที่ทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ และตั้งเป้าให้มีพื้นที่ป่า 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาคือ จากการให้อํานาจฝ่ายความมั่นคงและทหาร เกิดการยึดที่ดินทำกินประชาชน ไล่ชาวบ้านออก และดำเนินคดีในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ แต่กลับมีการวางข้อยกเว้นให้เอกชนสามารถเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนได้
17 ต.ค. 2557
มีบทบาทหลัก คือ การเป็นหน่วยงานที่จะมาพิสูจน์สิทธิ จัดสรรที่ดิน และอนุญาตให้ประชาชนทำกินในพื้นที่ของรัฐ เช่น เขตป่า และพื้นที่สาธารณประโยชน์อื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า การพิสูจน์สิทธิยังมีปัญหา วิธีการจัดการไม่สอดรับกับวิถีชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การทำไร่หมุนเวียน รวมไปถึงให้สิทธิในการอยู่อาศัยเพียงชั่วคราวเท่านั้น
6 ส.ค. 2557
มีเป้าหมายหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ทวงคืนผืนป่าจากผู้บุกรุกภายใน 1 ปี บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ภายใน 2 ปี และฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่เป้าหมายภายใน 2-10 ปี โดยจะรักษาพื้นที่ป่าไม้ให้มีสภาพป่าที่สมบูรณ์อย่างน้อย 40% ของพื้นที่ประเทศ ภายใน 10 ปี
6 มี.ค. 2558
ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (กพพ.) มีหน้าที่และอำนาจ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงาน การพัฒนาสังคมกลุ่มสมาชิกนิคมสร้างตนเอง กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
30 พ.ค. 2562
ให้การยอมรับการจัดตั้งป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์อย่างเป็นทางการ แต่ยังไม่ยอมรับสิทธิของป่าชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือพื้นที่คุ้มครองอื่น ๆ และรัฐบาลยังคงสิทธิในการครอบครองทั้งหมด
นอกเหนือจากสถานการณ์ปัญหาที่กลุ่มชาติพันธุ์พบจากนโยบายรัฐแล้ว หนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบคือการไม่ได้รับสัญชาติไทย แม้จะอยู่บนแผ่นดินไทยมาอย่างยาวนาน เมื่อไม่ได้รับสัญชาติ สิทธิต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับเช่นเดียวกับคนไทยอื่น ๆ ก็ไม่ได้
จากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2561 ในประเทศไทยมีประชากรที่ไม่มีสัญชาติไทยประมาณ 1.8 ล้านคน และข้อมูลจาก UNICEF พบว่าตั้งแต่ปี 2535 – 2561 มีการให้สัญชาติไทยแก่ชนกลุ่มน้อยรวม 272,891 คน
สำรวจจัดทำประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง และออกบัตรประจำตัวบุคคลพื้นที่สูง (สีฟ้า) ให้
จัดทำทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูง
โดยกำหนดให้ 9 ชาติพันธุ์ใน 20 จังหวัด (กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ลัวะ ขมุ และมลาบรี) ที่เกิดในราชอาณาจักร มีปู่ย่าตายายเกิดในราชอาณาจักร สามารถยื่นคำขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้าน โดยต้องมีหลักฐานทะเบียนชาวเขา ทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง ทะเบียนบ้าน มีพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ มีบัตรประจำตัวและหลักฐานการเกิด และอาจต้องมีหลักฐานทางพันธุกรรมด้วย
18 ม.ค. 2548
โดยกำหนดให้มีเลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท 0 กลุ่ม 89 ซึ่งรวมถึงชาวเขา 9 เผ่า (กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ลัวะ ขมุ และมลาบรี) กลุ่มไทยลื้อ และกลุ่มม้งถ้ำกระบอกที่ทำประโยชน์ ที่อาศัยในราชอาณาจักรเป็นเวลานานก่อน 30 ก.ย. 2542 แต่ตกสำรวจหรือไม่ได้ขึ้นทะเบียน
ต่อมา มีการเพิ่มเติมชาวมอแกลนที่ประสบภัยสึนามิ ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ความเป็นชนกลุ่มน้อย
26 ม.ค. 2564
หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเดิมที่ใหญ่คือ การย้ายออกจากพื้นที่ดั้งเดิม และย้ายเข้าไปอยู่ในชุมชนแออัดในเมือง เช่น พื้นที่ชุมชนริมคลองแม่ข่า ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากการที่มีกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น อาข่า ลีซู ลาหู่ จีนฮ่อ ม้ง ไทใหญ่ รวมไปถึงการเปลี่ยนไปประกอบอาชีพต่าง ๆ ในเมืองมากขึ้น ทำให้เผชิญปัญหาหลายประการ เช่น ชุมชนแออัด ยาเสพติด เอดส์ ค้าประเวณี ถูกล่อลวงทำอาชีพผิดกฎหมาย ถูกเอารัดเอาเปรียบ เร่ร่อน และปรับตัวกับสังคมเมืองไม่ได้
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการพูดถึงแนวคิดสิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural rights) ของกลุ่มชนพื้นเมือง (indigenous peoples) และชนกลุ่มน้อย (minority group) มากขึ้น ซึ่งเป็นการรับรองสิทธิให้สามารถแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของตน ดำรงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกคุกคามหรือถูกกลืนจากวัฒนธรรมหลักของรัฐ
กระแสการเรียกร้องและแก้ปัญหาที่กลุ่มชาติพันธุ์ต้องเจอไม่ได้อยู่ในเวทีระดับโลกเท่านั้น ในประเทศไทยเองก็มีความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าว จากภาคชนเผ่าพื้นเมือง-ประชาชน
6 เม.ย. 2561
26 มิ.ย. 2562
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งใน กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เท่านั้น
29 พ.ย. 2563
9 ส.ค. 2566
14 ธ.ค. 2566
20 ธ.ค. 2566
28 ก.พ. 2567
เกือบ 2 ทศวรรษ ที่หลายฝ่ายพยายามทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถดำรงวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมและเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ แต่ด้วยข้อจำกัดทางนโยบายและกฎหมาย เช่น การประกาศเขตอุทยานทับที่ทำกินที่อยู่อาศัย ชุมชนในเขตป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิและการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
แม้มีมติคณะรัฐมนตรี 2 มิ.ย. 2553 แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล และ 3 ส.ค. 2553 แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง เพื่อนำร่องแก้ปัญหา แต่มติคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่กลไกที่มีอำนาจเทียบเท่ากฎหมายอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพียง 2 กลุ่ม ทั้งที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 60 กลุ่ม ประชากรมากกว่า 6 ล้านคน
การยกร่างกฎหมายชาติพันธุ์ ทั้ง 5 ฉบับ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของโอกาสในการเปลี่ยนแปลง สร้างความเข้าใจในการยอมรับตัวตน แทนที่อคติเดิม ๆ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มคนล้าหลัง รอรับการสงเคราะห์ช่วยเหลือ ไปสู่การให้ความสำคัญของศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นพลังและส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
และเมื่อสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการในวาระแรก นำมาสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สภาผู้แทนราษฎร
จับตากฎหมายชาติพันธุ์
5 รายชื่อกฎหมาย และผู้นำเสนอ
โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม
โดย ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)
โดย สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
โดย พรรคก้าวไกล
Share This
ขอบคุณ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
อ้างอิง
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
- เอกสารนโยบายของรัฐต่อกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย
- มองกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับป่าไม้ด้วยสายตาชาติพันธุ์วิพากษ์
- นโยบายการจัดการศึกษา โครงการศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา
- การอนุรักษ์ป่าไม้กับบทบาทใหม่ของกองทัพไทยภายหลังการทำสงครามต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.): กรณีโครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม (คจก.)
- นโยบายป่าไม้แห่งชาติ
- จาก คจก.ช่วงรัฐบาลทหาร รสช. สู่ยุคทวงคืนผืนป่า โดยคำสั่ง คสช.ภาคสอง
- อีสานเขียว | TCP Sustainability
- วิทยานิพนธ์ เรื่อง พื้นฐานการก่อเกิดและการพัฒนานโยบายอีสานเขียวของกองทัพบก
- วิทยานิพนธ์ เรื่อง การประเมินผลโครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านม่วงกาญจน์ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
- มอง ‘วันอนุรักษ์ป่า’ ผ่านวิธีคิดของรัฐไทย เมื่อประชาชนกลายเป็น ‘ผู้ร้าย’ ในเรื่องเล่าทางการเมือง
- เกษตรกรอยู่ตรงไหน ในการจัดการที่ดินของรัฐไทย
- เกิดอะไรขึ้นกับ 14 ชาวบ้าน คดีทวงคืนผืนป่าบ้านซับหวาย จ.ชัยภูมิ | สาระ+ภาพ | ประชาไท Prachatai.com
- บทความ: มติ ครม.30 มิย. 41 เหตุแห่งปัญหาที่ทำกินของเกษตรกร | ประชาไท Prachatai.com
- ย้อนรอยความขัดแย้ง จนท.รัฐ-กลุ่มชาติพันธุ์บางกลอย | Thai PBS News ข่าวไทยพีบีเอส
- แนวทาง “คทช.” อาจแก้ปัญหาคนกับป่า แต่ไม่แก้เหลื่อมล้ำที่ดิน | Thai PBS News ข่าวไทยพีบีเอส
- 13 ปี มติ ครม. 3 สิงหา…โอกาสไปต่อ กฎหมายชาติพันธุ์ | The Active
- รู้จัก ‘ชนเผ่า’ ในไทย | 6 เรื่องราว เติมฝัน เติมไฟ ความเป็นมนุษย์เท่ากัน | The Active
- สภาฯ ไฟเขียว ‘ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์’ เดินหน้าคุ้มครองสิทธิ-เสมอภาค | The Active
- สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย กรณีศึกษา ชาวกะเหรี่ยงบางกลอย
- นโยบายและการจัดการป่าไม้ – Open Development Thailand
- คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 เรื่องการปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้
- เปิดรายงาน Land Watch ผลกระทบคำสั่งคสช. 64/57, 66/57 และแผนแม่บทป่าไม้ฯ | THAI LAWYERS FOR HUMAN RIGHTS
- การจัดการป่าไม้ฉบับคสช. : ยึดที่ทำกินจากคนจน ยกผืนป่าให้นายทุน – iLaw
- “ป่ากินคน” : ปัญหาที่ดินรัฐประกาศทับที่ดินประชาชนในรัฐบาลคสช. สู่รัฐบาลสืบทอดอำนาจ
- “ประยุทธ์” อนุมัติแผนแม่บทแก้ปัญหาทำลายป่า ทวงคืนพื้นที่จากผู้บุกรุกใน 1 ปี
- 40 ปีการพัฒนาชาวเขา
- ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจำตัวของบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติ
- การได้สัญชาติไทยตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543
- ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543
- เอกสาร เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทบุคคลตามยุทศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548
- เอกสาร เรื่อง การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564
- สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural rights)
- แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม
- จากยอดดอยสู่สลัม : การปรับตัวของชาวเขาในเมืองเชียงใหม่
- การปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ในชุมชนเมืองของชาวเขาเผ่าม้ง : กรณีศึกษาเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่
- การสร้างภาพลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์
- การเคลื่อนย้ายแรงงานชาวเขาอย่างเป็นระบบ : เอกสารประกอบการประชุมแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ปีงบประมาณ 2541
- มหากาพย์คนไร้สัญชาติ ข้ามให้พ้นคำถาม “คนไทยหรือเปล่า” : สุรพงษ์ กองจันทึก – The 101 World
- ปัญหาคนไร้สัญชาติ ซับซ้อนแต่ไม่ไร้ความหวัง
- 48 ปี สถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย