loader image
ข้ามไปยังเนื้อหา

“มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมาเท่าเทียมกัน” ฝันนี้เป็นจริงหรือยัง ?

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ปราศรัย ที่อนุสรณ์สถานลินคอล์น กรุงวอชิงตัน เมื่อ 28 ส.ค. 1963

"ข้าพเจ้ามีความฝันว่า วันหนึ่งประเทศนี้จะลุกขึ้นยืนหยัด และดำรงอยู่ภายใต้ความหมายที่แท้จริงของหลักการที่ว่า พวกเรายึดมั่นความจริงที่ประจักษ์ชัดเหล่านี้ว่า มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมาเท่าเทียมกัน"

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr.) เกิดวันที่ 15 ม.ค. 1929 ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ต่อมาเขาได้เป็นศาสนาจารย์ของโบสถ์คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ตามรอยปู่และพ่อ และแต่งงานกับคอเร็ตตา สก็อต คิง นักเคลื่อนไหวและผู้นำด้านสิทธิพลเมืองชาวอเมริกัน

I have a dream

“ข้าพเจ้ามีความฝัน”

คำปราศรัยอันโด่งดังของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองคนสำคัญของสหรัฐอเมริกา ที่เรียกร้องให้คนทุกเชื้อชาติ ทุกสีผิวในสหรัฐฯ ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

แม้จะมีการยกเลิกทาสตั้งแต่ปี 1865 แต่ในยุคของเขาคนผิวดำยังถูกเลือกปฏิบัติ มีการออกกฎหมายที่รู้จักทั่วไปว่า “กฎหมายจิมโครว์” ที่แบ่งแยกคนผิวขาวและคนผิวดำ ทั้งในสถานที่สาธารณะและการให้บริการทุกรูปแบบ เช่น การแบ่งแยกโรงเรียน การแบ่งแยกที่นั่งบนขนส่งสาธารณะ เป็นต้น รวมไปถึงกีดกันการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ

ภาพซ้าย : ในอดีตมีการแบ่งแยกโซนที่นั่งของคนผิวขาว และคนผิวดำบนขนส่งสาธารณะ

ภาพขวา : บารัค โอบามา ประธานาธิบดีชาวแอฟริกันอเมริกันคนแรก นั่งบนรถบัสคันที่ผู้หญิงผิวดำโดนจับ เพราะไม่สละที่นั่งให้คนขาว จนนำไปสู่จุดเริ่มต้นการต่อสู้เรียกร้องสิทธิพลเมืองของคนผิวดำ

Pic-1 Pic-2

เส้นทางการต่อสู้
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

โรซา พาร์กส์ ผู้หญิงผิวดำถูกจับกุมเพราะไม่ยอมสละที่นั่งบนรถบัสให้ชายผิวขาว
1 ธันวาคม 1955
จุดเริ่มต้น
"โรซา พาร์กส์" ผู้หญิงผิวดำถูกจับกุมเพราะไม่ยอมสละที่นั่งบนรถบัสให้ชายผิวขาว
1 ธันวาคม 1955
5 ธันวาคม 1955
Montgomery Bus Boycott
เป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวคว่ำบาตรไม่ใช้บริการรถบัสเมือง มอนต์โกเมอรี รัฐอลาบามา
5 ธันวาคม 1955
21 ธันวาคม 1956
ศาลตัดสิน
ศาลสูงสุดสหรัฐฯ ตัดสินว่าการแบ่งแยกที่นั่งบนรถโดยสารขัดต่อรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดการต่อสู้ที่ยาวนานกว่า 382 วัน โดยระหว่างนั้นก็ถูกคุกคามและโจมตีต่าง ๆ เช่น บ้านถูกวางระเบิด ถูกจับกุม
21 ธันวาคม 1956
มกราคม 1957
ตั้งองค์กร SCLC
ก่อตั้งองค์กรสิทธิพลเมืองแอฟริกัน-อเมริกัน (Southern Christian Leadership Conference - SCLC) เพื่อต่อต้านการแบ่งแยกและเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับในฐานะพลเมือง
มกราคม 1957
3 กุมภาพันธ์ 1959
เดินทางไปอินเดีย
ไปอินเดียเพื่อศึกษาแนวทางการต่อสู้แบบสันติวิธีของมหาตมะ คานธี
3 กุมภาพันธ์ 1959
28 สิงหาคม 1963
"I have a dream"
ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ "I have a dream" ที่ อนุสรณ์สถานลินคอล์น กรุงวอชิงตัน ในการเดินขบวน "March on Washington" เรียกร้องให้คนมีงานและสิทธิเสรีภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 250,000 คน
28 สิงหาคม 1963
2 กรกฎาคม 1964
ผ่านรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง
การผ่านรัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองในปี 1964 ที่กำหนดให้การเลือกปฏิบัติจากสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือชนชาติกำเนิด เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
2 กรกฎาคม 1964
14 ตุลาคม 1964
ประกาศว่าได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
14 ตุลาคม 1964
10 ธันวาคม 1964
รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และขึ้นกล่าวสุนทรพจน์
10 ธันวาคม 1964
2 กุมภาพันธ์ 1965
ถูกจับกุมและคุมขัง ในระหว่างเข้าร่วมการประท้วงเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งของชาวแอฟริกันอเมริกัน ที่เมืองเซลมา รัฐอลาบามา สหรัฐฯ
2 กุมภาพันธ์ 1965
6 สิงหาคม 1965
ประธานาธิบดีลินดอน เบนส์ จอห์นสัน ลงนามในกฎหมายสิทธิการเลือกตั้ง ซึ่งให้การรับรองสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนของชาวแอฟริกันอเมริกัน
6 สิงหาคม 1965
4 เมษายน 1968
เสียชีวิต
ถูกลอบสังหารขณะยืนอยู่หน้าห้องพักโรงแรมที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยมือปืนชื่อ เจมส์ เอิร์ล เรย์ ผู้คนนับหมื่นออกมาร่วมแสดงความเสียใจ ที่ Seattle Center
4 เมษายน 1968

55 ปีผ่านไป

หลัง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เสียชีวิต
การปฏิบัติต่อคนดำในสหรัฐฯ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไหม ?

สำรวจความเปลี่ยนแปลงผ่านมุมมองของชาวอเมริกัน

จากความคิดเห็นของชาวอเมริกัน ปี 2023 สะท้อนว่า การเลือกปฏิบัติระหว่างคนดำและคนขาวยังปรากฏให้เห็นอยู่ในสังคมอเมริกา โดยเฉพาะเมื่อ “คนดำ” ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ อย่างการเจรจากับตำรวจ, การทำธุรกรรมเพื่อกู้ยืม-จำนอง และการจ้างงาน ที่การได้รับค่าตอบแทนและการเลื่อนตำแหน่งเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียม

สำนักข่าววอชิงตัน โพสต์ เปิดสถิติน่าสนใจ ปี 2022 ที่พบว่า มี “คนผิวดำ” เสียชีวิตอันมีสาเหตุมาจากตำรวจถึง 224 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น

สถิติการเสียชีวิตอันมีสาเหตุมาจากตำรวจอเมริกัน

Black Lives Matter

หนึ่งในการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมและต่อต้านการเลือกปฏิบัติทางสีผิว หลัง จอร์จ ฟลอยด์ ชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจผิวขาวใช้ความรุนแรงในการจับกุมจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตเมื่อปี 2020

The Visual ชวนย้อนไปดูระดับความสนใจของ Black Lives Matter ที่มีการค้นหาบน Google ในสหรัฐอเมริกา ช่วง 3 เดือน หลัง จอร์จ ฟลอยด์ เสียชีวิต

จากแผนที่ด้านบนเห็นได้ว่า แม้ “รัฐมินนิโซตา” จะเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราว จอร์จ ฟลอยด์ แต่ผู้คนในพื้นที่นั้น ไม่ได้ให้ความสนใจต่อ Black Lives Matter มากเท่ากับรัฐที่อยู่ห่างออกไป

สำหรับคุณแล้ว คิดว่าสิทธิพลเมืองของคนดำในสหรัฐฯ ดีขึ้น เหมือนเดิม หรือแย่ลง ?

คลิกตัวเลือกด้านล่างนี้ ▽

ดีขึ้นอย่างมาก

ชาวอเมริกันผิวดำคิดเหมือนคุณ

25%

ดีขึ้นเล็กน้อย

ชาวอเมริกันผิวดำคิดเหมือนคุณ

55%

เหมือนเดิม

ชาวอเมริกันผิวดำคิดเหมือนคุณ

11%

แย่ลงเล็กน้อย

ชาวอเมริกันผิวดำคิดเหมือนคุณ

7%

แย่ลงอย่างมาก

ชาวอเมริกันผิวดำคิดเหมือนคุณ

2%

.*ผลสำรวจ ปี 2013 โดย Statista

“เราจะทำให้ความสามารถในการอดทนต่อความทุกข์ของเรา เสมอกับความสามารถของท่านในการสร้างความทุกข์ระทมให้เรา

สักวันหนึ่งเราจะสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพที่หาใช่เพียงเสรีภาพเพื่อตัวของพวกเราเองไม่ เราจะร้องอ้อนวอนต่อหัวใจและมโนธรรมของท่านว่า

เราจะเอาชนะท่านในขณะที่ผ่านกระบวนการนั้น และชัยชนะของเราจะมีความหมายเท่ากับชัยชนะเป็นสองเท่า”

หนังสือ จงมีใจที่แข็งแกร่ง และ หัวใจที่อ่อนโยน หน้า 44 เขียนโดย มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

Facebook
X (Twitter)