“หากย้อนกลับไปได้ เราจะ…”
หนึ่งในประโยคที่เรามักจะพูด หรือคิดจะพูด ในทุก ๆ ครั้งที่ช่วงเวลาความเป็น “ผู้ใหญ่” ของเราสั่นคลอน
และถ้าย้อนกลับไปได้ เราจะทำอย่างไร ?
หากผู้ใหญ่ในวันนั้น มอง "ความฝัน" ของเราไม่ตรงกับ ความหวัง ของเขา
วัยเด็ก วันเด็ก
กับ
"ความหวัง"
ที่ผู้ใหญ่อยากให้เป็น
ส่องรูปแบบ “ความหวัง” ที่ซ่อนอยู่ 👇
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนหนึ่งของ “ความหวัง” ที่ผู้ใหญ่ส่งต่อให้กับเหล่าเด็ก ๆ นั้น ครั้งหนึ่งเคยเป็น “ความฝัน” เมื่อครั้งพวกเขายังเป็นเด็ก และในห้วงเวลานั้น พวกเขาไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้
เช่นเดียวกับการส่งต่อ “ความหวัง” ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “คำขวัญ” อันเป็นความหวังที่ยิ่งใหญ่ในระดับชาติ โดยที่เด็ก ๆ เหล่านี้ ไม่ได้รู้ตัวว่าพวกเขากำลังถูกตีกรอบภาพคุณลักษณะของการเป็น
“เด็กที่ดีของชาติ”
เพื่อตอบโจทย์ “ความฝัน” ที่ “ผู้ใหญ่ในประเทศ” อยากเห็นและต้องการให้เป็น
คำขวัญวันเด็ก ≠ ความฝันวัยเด็ก
วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ถูกกำหนดให้เป็น วันเด็กแห่งชาติ
ซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติกันมาทุกปี กับการมอบสิ่งที่เรียกว่า “คำขวัญวันเด็ก” จากนายกรัฐมนตรี ที่อาจเรียกได้ว่า นั่นคือ “ความหวังของชาติ” ที่อยากให้ “เด็กไทยต้อง…” เป็นเช่นนั้นตามแต่ละยุคสมัย
คำขวัญวันเด็ก เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี 2499 และดำเนินเรื่อยมามากกว่า 60 ปี
ยังจำได้ไหม “คำขวัญวันเด็ก” ปีแรกคืออะไร ?
ทดสอบความจำ ! พลิกแผ่นป้ายที่คุณคิดว่านั่นคือคำตอบ 👇
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
ผิดจ้า
จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
ถูกต้อง
ไม่ว่าคุณจะจำ “คำขวัญวันเด็ก” ปีแรกได้หรือไม่ได้ วันนี้เราจะพาคุณย้อนกลับไปดู “คำขวัญวันเด็ก” ตั้งแต่ปีแรก
แล้วมองสิ่งที่เรียกว่า “ความหวัง” ที่เด็กแต่ละยุคสมัยถูกกำหนดให้เป็น !
สีตาม Generation ของนายกฯ Lost Generation Greatest Generation Silent Generation Baby Boomer Generation X
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
สัญญา ธรรมศักดิ์
สัญญา ธรรมศักดิ์
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
อานันท์ ปันยารชุน
ชวน หลีกภัย
ชวน หลีกภัย
บรรหาร ศิลปอาชา
พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
ชวน หลีกภัย
ชวน หลีกภัย
ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เศรษฐา ทวีสิน
กดลูกศรเพื่อเลื่อน ◀️ ซ้าย-ขวา ▶️
เจาะ KEY MESSAGE นายกรัฐมนตรีไทยผ่านคำขวัญวันเด็ก
คลิกเพื่อดูสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของ Key Message 👇
หากสังเกตจะเห็นได้ว่า นายกฯ ในช่วงครึ่งหลังจะเน้นคำขวัญวันเด็กไปที่ “ความคิดสร้างสรรค์ การศึกษา และการใช้ชีวิต” พร้อม ๆ กับการเน้นย้ำกฎระเบียบ
ส่วนคุณธรรมและความมั่นคงนั้น จะอยู่ในสัดส่วนที่น้อยลง เมื่อเทียบกับนายกฯ ในช่วงครึ่งแรก เช่น จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ที่เน้นย้ำคุณธรรม 100% จากคำขวัญวันเด็กที่ว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม“ และธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่ 100% มุ่งไปที่ความมั่นคง จากคำขวัญวันเด็ก “รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย“
ทำไมนายกฯ เลือกที่จะส่งต่อแนวคิดเหล่านี้ ?
หากมองนายกฯ แต่ละยุคผ่านคุณลักษณะเฉพาะของ GENERATION จะทำให้เข้าใจบริบทสังคม พฤติกรรม สไตล์การทำงาน เป้าหมาย และความคาดหวัง ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
KEYWORD กับนายกฯ แต่ละ GEN
นายกฯ ที่เกิดปี พ.ศ. 2426-2443 หรือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นายกฯ ที่เกิดในช่วงนี้ และได้เป็นหนึ่งในผู้คิดค้นคำขวัญวันเด็ก คือ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ซึ่ง Gen นี้ มีเพียง “จอมพลแปลก” คนเดียว หากสังเกตจากคีย์เวิร์ดคำขวัญจะเห็นได้ว่า ความคาดหวังจะเน้นไปที่การให้เด็กไทยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ และรับผิดชอบต่อสังคม
นายกฯ ที่เกิดปี พ.ศ. 2444-2467 หรือเกิดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำหลังสงคราม
นายกฯ ใน Gen นี้ มีถึง 7 คน โดยภาพรวมจะเห็นได้ว่า พวกเขาคาดหวังให้เด็กไทยมีคุณธรรม ความดี เชิดชูศาสนา และกตัญญูมากที่สุด
นายกฯ ที่เกิดปี พ.ศ. 2468-2488 หรือเกิดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงคราม
แม้จะใกล้เคียงกับ Greatest Generation แต่จะมีสิ่งที่แตกต่างเพิ่มเข้ามา คือ ความคาดหวังให้เด็กไทยมีความขยันหมั่นเพียร มานะ และบากบั่น
นายกฯ ที่เกิดปี พ.ศ. 2489-2507 หรือเกิดช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อีกทั้งเป็นยุคประชากรเกิดมาก เพื่อทดแทนประชากรที่สูญเสีย และเพื่อให้มีกำลังคนมาพัฒนาประเทศ
นายกฯ ใน Gen นี้ จึงคาดหวังให้เด็กไทยมีคุณธรรม ความดี เชิดชูศาสนา และกตัญญูมากที่สุด นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การศึกษาหาความรู้และขยันหมั่นเพียร
นายกฯ ที่เกิดปี พ.ศ. 2508-2522 หรือเกิดในยุคที่โลกมั่งคั่งแล้ว มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ขาว-ดำ และเริ่มมีการควบคุมการเกิดของประชากร
นายกฯ ใน Gen นี้ ซึ่งมีเพียง “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” จึงคาดหวังให้เด็กไทยมีระเบียบวินัย อีกทั้งมีความฉลาด เรียนดี มีปัญญา และมีความรู้ เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ โดยเฉพาะอาเซียน ที่เป็นหนึ่งในคีย์เวิร์ดของคำขวัญ
ชวน หลีกภัย ที่ ณ ขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ปี พ.ศ. 2541 ได้ให้คำขวัญวันเด็กว่า “ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย” ซึ่งในช่วงนั้นประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
ทักษิณ ชินวัตร ที่ ณ ขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ปี พ.ศ. 2548 กับคำขวัญวันเด็กว่า “เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด” สอดคล้องกับนโยบายที่มีการผลักดันในช่วงนั้นอย่างการส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้นอกห้องเรียน
เศรษฐา ทวีสิน ช่วงปีที่รับตำแหน่ง ทั่วโลกมีรณรงค์และส่งเสริมด้านความเท่าเทียมและความหลากหลายโดดเด่น ก็มีคำขวัญวันเด็กที่มีคำเกี่ยวเนื่อง คือ “มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย”
Share This 👇
Created by
Digital Media Department
Chalee Nawatharadol
Kantida Kunnapatee
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon