loader image

ปักหมุด

สูงวัยโซน

ไทยจะรับมืออย่างไร ?

เคยคิดกันไหมว่า

ถ้า “จังหวัด” ที่เราอยู่มีแต่
“ผู้สูงอายุ” จะเป็นอย่างไร ?

 

เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่าน สังคมรอบตัวย่อมมีการเปลี่ยนแปลง จาก “ผู้สูงอายุ” ที่มี “เด็ก” รายล้อม กลับเหลือเพียงภาพของ “ผู้สูงอายุ” เท่านั้น ภาพเช่นนี้สะท้อนความน่ากังวลอย่างไร ? ทำไมเราต้องมานั่งคำนึง ?

“ผู้สูงอายุ”

หมายถึงประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ มักถูกเรียกว่า
กลุ่มคนวัยเกษียณ ความหมายโดยนัย คือ พวกเขาปลดระวางจากการทำงานแล้ว

The Visual ชวนทุกคนสำรวจรายจังหวัด แล้วจะเห็นว่า “จังหวัด” ที่คุณอยู่นั้น เมื่อคิดเป็นสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุต่อประชากรทุกช่วงวัยทั้งหมดในจังหวัดนั้น อยู่ในเกณฑ์ที่น่ากังวล (เกิน 30%) หรือไม่ ? เพราะนั่นหมายถึงว่า จังหวัดที่คุณอาศัยอยู่กำลังอยู่ในระดับที่น่าเสี่ยง ในภาวะที่เราอาจบอกได้ว่า “ระบบ” ต่าง ๆ ยังไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม

ผลกระทบ !เมื่อโครงสร้างประชากรกลายเป็น

“พีระมิด” กลับด้าน

จากสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุในภาพด้านบน มีการประเมินผลกระทบจากการที่สังคมไทยกำลังจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) ไว้หลากหลายความเห็น โดยหนึ่งในนั้น คือ กรมกิจการผู้สูงอายุ ที่มีการไล่เรียงเป็นข้อ ๆ ได้อย่างน่าสนใจ อายุของคนไทยจะยืนยาวขึ้น : ยิ่งอายุยืนยาวขึ้น ทำให้ยิ่งต้องเตรียมเงินเยอะขึ้น ค่ารักษาพยาบาลมีแต่แพงขึ้น : ผู้สูงอายุมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลต่อการเข้าโรงพยาบาล 1 ครั้ง อยู่ที่ 30,000 กว่าบาท และจะสูงกว่าคนที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 10,000 กว่าบาท โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง : ประชากรวัยทำงานก็มีน้อยลง การพัฒนาประเทศก็จะช้าลง ทำให้เศรษฐกิจก็จะโตช้าลงด้วย

"ที่น่าเป็นห่วง คือ คนไปทำงานต่างจังหวัด (ต่างถิ่น) ถ้าไม่ประสบความสำเร็จก็กลับบ้าน ลองคิดดูว่า แก่แล้ว ไม่ประสบความสำเร็จ กลับบ้าน พระเจ้าช่วย ! คนในต่างจังหวัดจะมีแต่ผู้สูงอายุและไม่ประสบความสำเร็จด้วย ต้องกระจายให้ท้องถิ่นสร้างระบบ"

รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ทิ้งท้ายว่า ถ้ากระจุกอยู่ส่วนกลาง คิดว่า ในแต่ละจังหวัด ตำบล หรือหมู่บ้าน โครงสร้างผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน และเด็ก ไม่เหมือนกันเลย เช่น จ.ลำปาง ที่ติดอันดับ TOP ผู้สูงอายุมาก ถ้ายังผูกนโยบายอยู่ส่วนกลาง แก้ไม่ได้ ต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ซึ่ง “สังคมสูงวัย” เกิดไม่เท่ากัน ภาคใต้ไม่ค่อยมีปัญหา

“ส่วนกลางต้องกระจายการลงทุน แหล่งจ้างงานให้อยู่ต่างจังหวัด”

ย้อนไปดูข้อมูลการสำรวจรายได้หลังเกษียณของผู้สูงอายุในไทยปี 2560 เห็นได้ว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งพึ่งพิงรายได้จากบุตและเบี้ยยังชีพมากขึ้น สวนทางกับรายได้จากบำเหน็จบำนาญและรายได้จากการทำงานที่ลดลง สิ่งที่น่าสนใจคือ อนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ เมื่อผู้สูงอายุไทยมีแนวโน้มอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น หรือทางออกของปัญหานี้จะจบลงที่ “คนไทยไม่ได้เกษียณตอนอายุ 60 ปี” เหมือนเช่นที่ผ่านมา

The Visual ชวนคุณสำรวจแหล่งรายได้ของผู้สูงอายุไทยใน 3 ระบบ ได้แก่

อดีตข้าราชการ, อดีตแรงงานเอกชน และแรงงานนอกระบบ

รวมถึงภาพการเปลี่ยนแปลงประชากรที่เกิดขึ้นทั่วโลก

www.thaipbs.or.th/TheVisualRetirement

Facebook
X (Twitter)

The Visual ชวนคุณสำรวจแหล่งรายได้ของผู้สูงอายุไทยใน 3 ระบบ ได้แก่

อดีตข้าราชการ, อดีตแรงงานเอกชน และแรงงานนอกระบบ

รวมถึงภาพการเปลี่ยนแปลงประชากรที่เกิดขึ้นทั่วโลก

Facebook
X (Twitter)