เมื่อ “เพื่อน” ไม่สามารถ “เรียนจบ” พร้อมเราได้
ในภาคเรียนนี้ เคยสังเกตกันไหมว่า “เพื่อน” ที่เรียนในโรงเรียน ห้องเรียน เดียวกับเรา ยังอยู่กันครบหรือไม่ ?
หากคำตอบ คือ ไม่ครบ
คำถาม คือ พวกเขาหายไปไหน ?
และเพราะอะไรถึงหายไป…
#TheVisualbyThaiPBS รวบรวมข้อมูลนักเรียนจากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา เฉพาะในส่วนบริหารจัดการโดยภาครัฐ พบว่า ในแต่ละปีมี “เด็กไทย” หลุดออกนอกระบบการศึกษาจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นช่วง “มัธยมปลาย” ซึ่ง “ม.3” ขึ้น “ม.4” พบมากที่สุด ส่วนที่ยังไปต่อได้ ก็ไปต่อได้ไม่สุด มีหลายคนที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาในชั้นขึ้น ม.5 และ ม.6
เช่น ในปี 2553 ที่มีนักเรียนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 583,255 คน แต่เมื่อจบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลับเหลือเพียง 464,394 คน แล้วอีก 118,861 คนหายไปไหน ?
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า เด็กอีก 118,861 คน หรือคิดเป็น 20.4% ที่หายไป ส่วนนึงตัดสินใจออกจากระบบเพื่อไปศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง, ระบบ Home School หรือ กศน. แต่ก็ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่จำใจต้องออกจากระบบการศึกษาด้วยสถานะการณ์เศรษฐกิจภายในครอบครัว และยิ่งช่วงนี้ ที่เกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทย
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมไปถึงเศรษฐกิจภายในครอบครัว ยิ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อการหลุดออกนอกระบบของเด็ก แล้วปัญหาเหล่านี้ควรแก้ไขอย่างไร?
#TheVisualbyThaiPBS อยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจปัญหา ร่วมกันออกแบบระบบการศึกษาไทย เพื่อไม่ให้ใครต้องหลุดออกนอกระบบระหว่างทาง และพา “เพื่อนที่หายไป” กลับห้องเรียน 👉https://thevisual.thaipbs.or.th/drop-out-students/main/