loader image
ข้ามไปยังเนื้อหา

กลุ่มคนชาติพันธุ์หน้าตาเป็นแบบไหน

คุณรู้จักชาติพันธุ์ไหนบ้าง ?

กดเลือกชาติพันธุ์ให้ถูกต้อง

ภาพจำกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างไร ?

ชาติพันธุ์คือใคร ใช่เราหรือไม่ ?

สำรวจกลุ่มชาติพันธุ์

ประเทศไทยมี 60 กลุ่มชาติพันธุ์
4,011 ชุมชน หรือราว
คน
0
กลุ่มชาติพันธุ์มีจุดเริ่มต้นในทศวรรษที่ 2420
หรือสมัย ร.5 ชนชั้นนำของสยามใช้คำเรียกรวม ๆ ว่า
“ชาวป่า” หรือ “คนป่า”

คำว่า “ชาวเขา”

ปรากฏครั้งแรกในพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ 2 เรื่อง คือ
พระราชพงศาวดารพม่า (พ.ศ.2455) และ
พงศาวดารไทยใหญ่ (พ.ศ.2456)
จากการรับคำว่า “Hilltribes” หรือ “Hill people” มาใช้

ช่วงทศวรรษ 2480 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
สังคมไทยเริ่มรับรู้เรื่องราวของชาวเขามากขึ้น
รวมถึงมีการใช้เพื่อเป้าหมายทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับปัญหาความมั่นคง
เกิดอคติ หรือภาพในเชิงลบ

ประวัติศาสตร์ “นโยบายรัฐ” กับ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในไทย

เลื่อนขวาเพื่อดูไทม์ไลน์

แบ่งเป็น 7 ส่วน คือ

นโยบายของรัฐต่อกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

แต่แรกเริ่ม นโยบายของรัฐ เน้นไปที่การสงเคราะห์และช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า ซึ่งนอกจากมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐานแล้ว ยังมีจุดประสงค์อื่น ๆ เช่น ป้องกันการบุกรุกทำลายป่า, ปราบปรามยาเสพติด และต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์

ปี 2483
ปี 2495
ปี 2499
ปี 2502
ปี 2506
ปี 2508
ปลายปี 2510 - ต้นปี 2511
ปี 2511
ปี 2512
1 ก.ย. 2483
ตั้ง "กรมประชาสงเคราะห์" เพื่อสังคมสงเคราะห์ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ และบริการสวัสดิการสังคมแก่คนไร้ที่พึ่ง
เริ่มต้นการดำเนินการกับกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า
ภายใต้ความคิดที่ว่า ชนเผ่าต่าง ๆ อยู่ห่างไกลบ้านเมืองและการคมนาคม ขาดความเจริญ ราชการจึงควรเข้าไปดำเนินการสงเคราะห์
7 ส.ค. 2499
กระทรวงมหาดไทย (ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม) มีคำสั่งที่ 653/2499 แต่งตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคม เพื่อพัฒนาชนเผ่าต่าง ๆ โดยในช่วงแรกเป็นการสงเคราะห์แก้ปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า เช่น เสื้อผ้า, เครื่องนุ่มห่ม และอาหาร
3 มิ.ย. 2502
ครม. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีมติเปลี่ยน คณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคม เป็น "คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา" ถือเป็นองค์กรระดับชาติครั้งแรกที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับชาวเขา

อนุมัติให้มีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาขึ้น 4 แห่ง เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าที่อยู่กระจัดกระจายมาอยู่รวมกันเป็นที่ ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกไม้ยืนต้น อุตสาหกรรมในครัวเรือน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน ไม่สามารถอยู่รวมกันได้
จัดตั้งกองสงเคราะห์ชาวเขา สังกัดกรมประชาสงเคราะห์
7 ก.ย. 2508
ครม. จอมพลถนอม กิตติขจร มีมติตั้งหน่วยงานเพิ่มเติมในคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา เพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า-ทำไร่เลื่อนลอย ป้องกันการปลูกฝิ่น พัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม และใช้กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าเป็นกำลังสำคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อยทางชายแดน-จงรักภักดีต่อประเทศ
การขยายอิทธิพลของแนวคิดคอมมิวนิสต์ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่ามีการติดอาวุธและปะทะกับทหารของรัฐบาลในหลายพื้นที่ การต่อสู้มีแนวโน้มรุนแรงและขยายเป็นวงกว้าง
2 ต.ค. 2511
ครม. จอมพลถนอม กิตติขจร มีมติเปลี่ยน คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา เป็น "คณะกรรมการชาวเขา"

มีภารกิจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าทุกกรณี จากการที่รัฐเห็นว่า แนวคิดคอมมิวนิสต์แพร่เข้าไปในกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า
15 ธ.ค. 2512
ครม. จอมพลถนอม กิตติขจร มีมติเห็นชอบนโยบายระยะสั้น-ยาว เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ป้องกันการทำลายป่า ป้องกันการปลูกฝิ่น และรักษาความสงบ

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าที่มีพฤติการณ์เป็นคอมมิวนิสต์ได้

รัฐบาลได้มีการทบทวนนโยบายและวิธีการดำเนินการกับกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าอีกครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ความมั่นคงที่เผชิญอยู่ (ซึ่งคือการแผ่ขยายของแนวคิดคอมมิวนิสต์)

ทำให้เกิดนโยบายรวมพวก เพื่อพัฒนาให้กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าเป็นพลเมืองไทย เน้นไปที่การส่งเสริมให้รักชาติและสร้างความจงรักภักดีต่อประเทศ แต่ยังคงมีนโยบายที่ลดการปลูกฝิ่น และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าเหมือนเดิม

ปี 2519
ปี 2524
ปี 2525
6 ก.ค. 2519
ครม. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช มีมติเห็นชอบนโยบายรวมพวก (Integration Policy) มีการสร้างจิตสำนึกพลเมืองไทย-จงรักภักดีต่อประเทศ การดำเนินโยบายเพื่อให้สามารถช่วยตัวเองได้ การจัดทำทะเบียนชาวเขา และการลดอัตราการเพิ่มของประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า
กำหนดแนวนโยบายการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าไว้ในแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรก ในแผนฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529)

ให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่ามากขึ้น มีสาระสำคัญ เช่น สนับสนุนการตั้งถิ่นฐานถาวร ฟื้นฟูธรรมชาติ บริการสาธารณะสุข โภชนาการ และการศึกษา รวมไปถึงพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ช่วยเหลือตัวเองได้
7 ธ.ค. 2525
ครม. พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ มีมติใช้นโยบาย 3 ด้านแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า ได้แก่

(1) ด้านการปกครอง : สร้างสำนึกคนไทย จัดระเบียบ ลดการอพยพเข้ามา
(2) ด้านลดการปลูกและเสพฝิ่นโดยเด็ดขาด
(3) ด้านพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม : มีรายได้ กระจายบริการสาธารณสุข
ในระยะหลังจนถึงปัจจุบัน กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดินทำกินซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่ป่า ซึ่งส่งผลต่อทั้งประชาชนและกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า

หนึ่งในหน่วยงานสำคัญคือกองทัพไทย ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทด้านกิจการพลเรือนตั้งแต่สมัยสงครามเย็น โดยเฉพาะช่วงทศวรรษ 2520 และเมื่อการต่อสู้กับกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) สิ้นสุดลง ในช่วงต้นทศวรรษ 2530 กองทัพไทยก็มีความพยายามในการแสวงหาและขยายบทบาทต่อไป โดยหนึ่งในนั้นคือบทบาทการอนุรักษ์ป่าไม้ ตามความท้าทายความมั่นคงของรัฐรูปแบบใหม่ กองทัพจึงเริ่มลดแนวคิดให้ราษฎรอาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า และเพิ่มแนวคิดว่าราษฎรในพื้นที่ป่าเป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์ (และการแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการของกองทัพ)

ตัวอย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพื้นที่-ป่า ได้แก่ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 (กำหนดนิยามป่า นำมาสู่การประกาศพื้นที่ป่า), พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503, พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ประกาศป่าประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมบนพื้นที่ป่าของรัฐ มีเงื่อนไขห้ามมิให้ผู้ใดครอบครอง), พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
แสดง
ปี 2528
ปี 2530
ปี 2532
ปี 2534 - 2535
ปี 2541
ปี 2545
ปี 2553
ปี 2557
ปี 2558
ปี 2562
3 ธ.ค. 2528
ครม. พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ มีมติเห็นชอบนโยบายป่าไม้แห่งชาติ พ.ศ. 2528

มีการกําหนดเป้าหมายว่า รัฐจะต้องเพิ่มพื้นที่ป่าให้ไม่น้อยกว่า 40% ของพื้นที่ประเทศ
รัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ดำเนินโครงการอีสานเขียว

เพื่อให้พื้นที่ภาคอีสานมีความอุดมสมบูรณ์ มีการขับไล่ชาวบ้านเพื่อพยายามสยบความเคลื่อนไหวของผู้มีความคิดต่างทางการเมือง คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) รัฐบาลอ้างว่ามีความจำเป็นต้องอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ แต่หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ชาวบ้านหลายครอบครัวได้คืนกลับมายังที่ดินทำกินเดิม
14 ม.ค. 2532
ครม. พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ มีมติเรื่องการปิดป่าสัมปทาน ภายหลังเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากทำลายหมู่บ้านในภาคใต้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในปี 2531
7 ก.พ. 2532
ครม. พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ มีมติกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด และแนวความคิดในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาชนบท สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดที่สูง
รัฐบาลชุด พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ทำโครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม (คจก.)

ภายหลังการรัฐประหารโดย รสช. เมื่อ 23 ก.พ. 2534 อานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกฯ ก็ได้มีการดำเนินโครงการต่อ

แม้จะบอกว่าโครงการมีจุดประสงค์เพื่อจัดสรรที่ดินทำกิน ช่วยเหลือผู้ยากไร้ แต่กลับมีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเช่าปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ยูคาลิปตัส มุ่งอพยพราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวน เช่น พื้นที่ป่าสงวนดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์

สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความขัดแย้งต่อประชาชน นำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์กองทัพในทางลบเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม โครงการยุติในช่วงกลางปี 2535 หลังเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
11 ก.พ. 2535
ครม. อานันท์ ปันยารชุน มีมติเห็นชอบหลักการแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อมและควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2535-2539 ฉบับที่ 1 (จากการกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด เมื่อ 7 ก.พ. 2532)

เพื่อเป็นกรอบการปฏิบัติงานในการพัฒนาพื้นที่สูง
10 มี.ค. 2535
มติ ครม. เรื่อง การจําแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวน
30 มิ.ย. 2541
ครม. ชวน หลีกภัย มีมติกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า

โดยเปิดให้ประชาชนยื่นคําร้องแจ้งการครอบครองที่ดินที่อยู่ในเขตป่า และกรมป่าไม้จะทําการพิสูจน์สิทธิ์ แต่ก็ยังมีการยึดเงื่อนไขตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ พ.ศ. 2535 อยู่

ในทางปฏิบัติแล้วจึงมีผลจํากัดสิทธิ์มากกว่าให้สิทธิ์ และการพิสูจน์สิทธิ์มีผลเป็นการยึดคืนพื้นที่ทํากินของชาวบ้านมาเป็นของรัฐ
2 ต.ค. 2545
กองสงเคราะห์ชาวเขาปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายครอบคลุม เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ

มีการจัดตั้งกลุ่มประสานการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นที่สูง เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาและสงเคราะห์กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า (ปัจจุบันคือสำนักพัฒนาสังคม) และมีสำนักบริการสวัสดิการสังคม เพื่อรับผิดชอบและสนับสนุนงานกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า เช่น โครงการหลวง
25-28 เม.ย. 2553
ยุทธการตะนาวศรี โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ดำเนินการอพยพและเผาทำลายบ้านและยุ้งฉางข้าวของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย (ใจแผ่นดิน) อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพื่อผลักดันออกจากผืนป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
2 มิ.ย. และ 3 ส.ค. 2553
ครม. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติเห็นชอบแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล (2 มิ.ย. 2553) และแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง (3 ส.ค. 2553) ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่รัฐเปิดให้กลุ่มชาติพันธุ์เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการตัวเอง
12 มิ.ย. 2553
บังคับใช้ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นแนวทางในการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ซึ่งรวมถึงที่ดินที่อยู่ในเขตป่าด้วย
14 มิ.ย. และ 17 มิ.ย. 2557
คําสั่ง คสช. ที่ 64/2557 กําหนดให้อํานาจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดฐานบุกรุกพื้นที่ป่าในการทำไม้ ตามมาด้วย คำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ยกเว้นไม่ให้ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่ากระทบต่อผู้ยากไร้ ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อนคําสั่งนี้มีผลบังคับใช้ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงไปปฏิบัติการในพื้นที่ชุมชนมากขึ้น

มีเป้าหมาย คือ จัดการยึดคืนที่ดินจากกลุ่มนายทุนที่เข้ามาบุกรุกใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าโดยมิชอบ เพื่อนำมาฟื้นฟูสภาพป่าหรือดำเนินการจัดที่ทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ และตั้งเป้าให้มีพื้นที่ป่า 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ

อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาคือ จากการให้อํานาจฝ่ายความมั่นคงและทหาร เกิดการยึดที่ดินทำกินประชาชน ไล่ชาวบ้านออก และดำเนินคดีในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ แต่กลับมีการวางข้อยกเว้นให้เอกชนสามารถเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนได้
17 ต.ค. 2557
ประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) หรือถูกยกระดับเป็นสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ในปัจจุบัน

มีบทบาทหลัก คือ การเป็นหน่วยงานที่จะมาพิสูจน์สิทธิ จัดสรรที่ดิน และอนุญาตให้ประชาชนทำกินในพื้นที่ของรัฐ เช่น เขตป่า และพื้นที่สาธารณประโยชน์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า การพิสูจน์สิทธิยังมีปัญหา วิธีการจัดการไม่สอดรับกับวิถีชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การทำไร่หมุนเวียน รวมไปถึงให้สิทธิในการอยู่อาศัยเพียงชั่วคราวเท่านั้น
6 ส.ค. 2557
คสช. อนุมัติแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

มีเป้าหมายหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ทวงคืนผืนป่าจากผู้บุกรุกภายใน 1 ปี บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ภายใน 2 ปี และฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่เป้าหมายภายใน 2-10 ปี โดยจะรักษาพื้นที่ป่าไม้ให้มีสภาพป่าที่สมบูรณ์อย่างน้อย 40% ของพื้นที่ประเทศ ภายใน 10 ปี
6 มี.ค. 2558
จัดตั้งกองกิจการนิคมสร้างตนเองและพัฒนาชาวเขาขึ้น มีบทบาทภารกิจสำคัญ คือ การดำเนินงานด้านการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (กพพ.) มีหน้าที่และอำนาจ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงาน การพัฒนาสังคมกลุ่มสมาชิกนิคมสร้างตนเอง กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่า และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
30 พ.ค. 2562
บังคับใช้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน 2562

ให้การยอมรับการจัดตั้งป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์อย่างเป็นทางการ แต่ยังไม่ยอมรับสิทธิของป่าชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือพื้นที่คุ้มครองอื่น ๆ และรัฐบาลยังคงสิทธิในการครอบครองทั้งหมด

นอกเหนือจากสถานการณ์ปัญหาที่กลุ่มชาติพันธุ์พบจากนโยบายรัฐแล้ว หนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบคือการไม่ได้รับสัญชาติไทย แม้จะอยู่บนแผ่นดินไทยมาอย่างยาวนาน เมื่อไม่ได้รับสัญชาติ สิทธิต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับเช่นเดียวกับคนไทยอื่น ๆ ก็ไม่ได้

จากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2561 ในประเทศไทยมีประชากรที่ไม่มีสัญชาติไทยประมาณ 1.8 ล้านคน และข้อมูลจาก UNICEF พบว่าตั้งแต่ปี 2535 – 2561 มีการให้สัญชาติไทยแก่ชนกลุ่มน้อยรวม 272,891 คน

ปี 2504-2505
ปี 2528 - 2531
ปี 2533 - 2534
ปี 2541 - 2542
ปี 2543
ปี 2548
ปี 2564
กรมประชาสงเคราะห์ ร่วมกับกรมตำรวจ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าชื้น พบว่ามีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 500,000 คน
สำรวจข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าในพื้นที่ 20 จังหวัด พบประชากร 9 ชาติพันธุ์ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ลัวะ ขมุ และมลาบรี จำนวน 554,172 คน 3,553 หมู่บ้าน นำไปสู่ทะเบียนบัญชีสำรวจบุคคลในบ้าน หรือทะเบียนราษฎรสำหรับชาวเขา (ทร.ชข.)
สำรวจจัดทำประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง และออกบัตรประจำตัวบุคคลพื้นที่สูง (สีฟ้า) ให้
จัดทำทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูง
สำนักทะเบียนกลางออกระเบียบว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลพื้นที่สูง พ.ศ. 2543

โดยกำหนดให้ 9 ชาติพันธุ์ใน 20 จังหวัด (กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ลัวะ ขมุ และมลาบรี) ที่เกิดในราชอาณาจักร มีปู่ย่าตายายเกิดในราชอาณาจักร สามารถยื่นคำขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้าน โดยต้องมีหลักฐานทะเบียนชาวเขา ทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง ทะเบียนบ้าน มีพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ มีบัตรประจำตัวและหลักฐานการเกิด และอาจต้องมีหลักฐานทางพันธุกรรมด้วย
18 ม.ค. 2548
ครม. ทักษิณ ชินวัตร มีมติให้กรมการปกครองสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติช่วงปี 2548 - 2554

โดยกำหนดให้มีเลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท 0 กลุ่ม 89 ซึ่งรวมถึงชาวเขา 9 เผ่า (กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ลัวะ ขมุ และมลาบรี) กลุ่มไทยลื้อ และกลุ่มม้งถ้ำกระบอกที่ทำประโยชน์ ที่อาศัยในราชอาณาจักรเป็นเวลานานก่อน 30 ก.ย. 2542 แต่ตกสำรวจหรือไม่ได้ขึ้นทะเบียน

ต่อมา มีการเพิ่มเติมชาวมอแกลนที่ประสบภัยสึนามิ ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ความเป็นชนกลุ่มน้อย
26 ม.ค. 2564
ครม. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติ อนุมัติหลักเกณฑ์การกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน โดยจะให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (มีถิ่นที่อยู่ถาวร) 3 กลุ่ม
จากนโยบายพัฒนาประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อให้เติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ เมื่อรัฐกำหนดมาตรการควบคุม รวมไปถึงการไม่ยอมรับสิทธิในที่ทำกินอยู่อาศัยและการทำไร่หมุนเวียน ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ไม่สามารถทำการเกษตรได้ สูญเสียอำนาจในการผลิตและควบคุมทรัพยากรตามจารีตประเพณี และนำมาสู่การล่มสลายของชุมชน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากร และภาวะจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์จำเป็นต้องละทิ้งและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเดิม


หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเดิมที่ใหญ่คือ การย้ายออกจากพื้นที่ดั้งเดิม และย้ายเข้าไปอยู่ในชุมชนแออัดในเมือง เช่น พื้นที่ชุมชนริมคลองแม่ข่า ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากการที่มีกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น อาข่า ลีซู ลาหู่ จีนฮ่อ ม้ง ไทใหญ่ รวมไปถึงการเปลี่ยนไปประกอบอาชีพต่าง ๆ ในเมืองมากขึ้น ทำให้เผชิญปัญหาหลายประการ เช่น ชุมชนแออัด ยาเสพติด เอดส์ ค้าประเวณี ถูกล่อลวงทำอาชีพผิดกฎหมาย ถูกเอารัดเอาเปรียบ เร่ร่อน และปรับตัวกับสังคมเมืองไม่ได้
แสดง

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการพูดถึงแนวคิดสิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural rights) ของกลุ่มชนพื้นเมือง (indigenous peoples) และชนกลุ่มน้อย (minority group) มากขึ้น ซึ่งเป็นการรับรองสิทธิให้สามารถแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของตน ดำรงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกคุกคามหรือถูกกลืนจากวัฒนธรรมหลักของรัฐ

ปี 2491
ปี 2509
ปี 2550
องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ประกาศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights - UDHR) เรียกร้องให้คุ้มครองหลักสิทธิมนุษยชนและปกป้องศักดิ์ศรี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันประเด็นสิทธิทางวัฒนธรรมในระดับสากล
องค์การสหประชาชาติ ประกาศ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (The International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights) เน้นย้ำถึงสิทธิของทุกคนในการกำหนดเจตจำนง พัฒนาวัฒนธรรมของตน และรัฐมีบทบาทในการปกป้องคุ้มครอง ส่งเสริมสิทธิทางวัฒนธรรมโดยปราศจากการกีดกันและเลือกปฏิบัติ
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มีมติรับรองปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (UN Declaration on the Rights of Indigenous Peoples – UNDRIP) ซึ่งเป็นการประกาศให้รัฐภาคียอมรับ และคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของชนเผ่าพื้นเมือง

กระแสการเรียกร้องและแก้ปัญหาที่กลุ่มชาติพันธุ์ต้องเจอไม่ได้อยู่ในเวทีระดับโลกเท่านั้น ในประเทศไทยเองก็มีความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าว จากภาคชนเผ่าพื้นเมือง-ประชาชน

ก่อนปี 2540
ปี 2540-2550
ปี 2550
ปี 2553
ปี 2554-2557
ปี 2561
ปี 2562
ปี 2563
ปี 2566
ปี 2567
ชนเผ่าพื้นเมืองรวมตัวกันของเป็นเครือข่ายเล็ก ๆ ในภาคเหนือของไทย มีการจัดเวทีแสวงหาทางออกแก้ปัญหาวัฒนธรรมชุมชนที่เริ่มสูญหาย
ชนเผ่าพื้นเมืองรวมกลุ่มใหญ่ขึ้น ในนามสมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย เพื่อผลักดันการแก้ปัญหาป่าไม้ที่ดิน และปัญหาสถานะบุคคล (สัญชาติ)
มีการรวมตัวเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) เป็นครั้งแรก จากชนเผ่าพื้นเมือง 17 กลุ่มชาติพันธุ์จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อส่งเสริม ปกป้องสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และร่วมมือแก้ปัญหา
คชท. ได้ขยายความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองเพิ่มเป็น 36 กลุ่มชาติพันธุ์ และประกาศจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองประเทศไทยขึ้น เพื่อประสานความร่วมมือแก้ปัญหา และส่งเสริมและยกระดับศักยภาพการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมยั่งยืน
คชท. แต่งตั้งคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. … จัดทำประชาพิจารณ์ พัฒนากลไกขับเคลื่อนกิจการสภาฯ ปรับปรุงนำเสนอจนได้รับความเห็นชอบจากเวทีสมัชชาระดับชาติ
6 เม.ย. 2561
แผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม (พ.ศ. 2561–2565) กำหนดให้มีการจัดทำกรอบแนวทางร่างกฎหมายชาติพันธุ์ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์
26 มิ.ย. 2562
ผู้แทนสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยและภาคียื่นข้อเสนอให้ สส. จัดตั้ง กมธ.ด้านชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อให้เกิดกลไกพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาของชนเผ่าพื้นเมือง และผลักดันให้รัฐสภารับร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. …

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งใน กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เท่านั้น
29 พ.ย. 2563
คณะทำงานร่างกฎหมายฯ กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เปิดร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นครั้งแรก
9 ส.ค. 2566
สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยประกาศเจตจำนงเนื่องใน วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ผลักดันร่างกฎหมายชาติพันธุ์ทุกฉบับให้ได้รับการพิจารณาจากรัฐสภา
14 ธ.ค. 2566
สภาผู้แทนราษฎรให้ตัวแทนภาคประชาชนที่เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ ชี้แจงหลักการและสาระสำคัญของร่างกฎหมาย โดยมีการอภิปรายสนับสนุนกฎหมายจากตัวแทนสส. อย่างกว้างขวาง
20 ธ.ค. 2566
สภาผู้แทนราษฏรพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ แต่ ครม. รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ขอนำกลับไปศึกษาภายใน 60 วัน โดยมีเงื่อนไขให้นำกลับมาพิจารณาในสภาฯ พร้อมกับกฎหมายที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันรวม 4 ฉบับ
28 ก.พ. 2567
สภาฯ รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ ทั้ง 5 ฉบับ ตั้ง กมธ.วิสามัญ 42 คน ระยะเวลาแปรญัตติ 15 วัน

เกือบ 2 ทศวรรษ ที่หลายฝ่ายพยายามทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถดำรงวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมและเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ แต่ด้วยข้อจำกัดทางนโยบายและกฎหมาย เช่น การประกาศเขตอุทยานทับที่ทำกินที่อยู่อาศัย ชุมชนในเขตป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิและการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์

แม้มีมติคณะรัฐมนตรี 2 มิ.ย. 2553 แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล และ 3 ส.ค. 2553 แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง เพื่อนำร่องแก้ปัญหา แต่มติคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่กลไกที่มีอำนาจเทียบเท่ากฎหมายอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพียง 2 กลุ่ม ทั้งที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 60 กลุ่ม ประชากรมากกว่า 6 ล้านคน

การยกร่างกฎหมายชาติพันธุ์ ทั้ง 5 ฉบับ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของโอกาสในการเปลี่ยนแปลง สร้างความเข้าใจในการยอมรับตัวตน แทนที่อคติเดิม ๆ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มคนล้าหลัง รอรับการสงเคราะห์ช่วยเหลือ ไปสู่การให้ความสำคัญของศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นพลังและส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

และเมื่อสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการในวาระแรก นำมาสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สภาผู้แทนราษฎร

Play Video

จับตากฎหมายชาติพันธุ์

5 รายชื่อกฎหมาย และผู้นำเสนอ

โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม

โดย สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

Share This

Facebook
X (Twitter)

ขอบคุณ

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

อ้างอิง

แสดง