loader image
การมี “ประจำเดือน” ของผู้หญิงนั้น
โดยเฉลี่ยจะมีระยะห่างแต่ละรอบเท่า ๆ กัน และลดหลั่นลงไปตามช่วงอายุ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ โรงพยาบาลเปาโล

โดยหากพิจารณาจากจำนวนวันของระยะห่างจะเห็นได้ว่า มีความใกล้เคียงกับ “ตัวเลข” ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ดวงจันทร์”
ความเชื่อหนึ่งในวัฒนธรรมจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เชื่อมโยง “ประจำเดือน” เข้ากับระยะเวลาครบรอบเสี้ยวและเต็มดวงของดวงจันทร์ ที่มักจะเกิดขึ้นคล้ายกัน คือ เดือนละ 1 ครั้ง
สิ่งที่ทำให้ประจำเดือนแต่ละคนแตกต่างกัน
มีหลายปัจจัย
ไม่เพียงเท่านั้นยังมีความเชื่อว่าดวงจันทร์อาจส่งผลกระทบต่อ
ปริมาณเลือด และ ความคลาดเคลื่อนของรอบประจำเดือน
เนื่องจากดวงจันทร์มีส่วนทำให้น้ำขึ้น-น้ำลง
อีกทั้งคำว่า ประจำเดือน ในภาษาอังกฤษ

menstruation (n.)

ยังมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ คำว่า mensis ที่แปลว่า ดวงจันทร์ (Moon) หรือ เดือน (Month)

แต่จริง ๆ แล้วเกี่ยวกันไหม ?

จากงานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพระจันทร์ รอบประจำเดือน และคุณภาพการนอน ของผู้มีประจำเดือนในวัยเจริญพันธ์ุ*

*เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.ncbi.nlm.nih.gov วันที่ 21 มี.ค. 64

แบ่งการนับรอบดวงจันทร์เป็น 3 แบบ คือ

ก่อนอื่นลองมาดูกันว่าดวงจันทร์
ทำให้รอบประจำเดือนมีความคลาดเคลื่อนไหม
เปรียบเทียบสัดส่วนคนที่ประจำเดือนมาวันแรก ในช่วงสว่าง ช่วงกลาง และช่วงมืด จำนวน 529 คน ย้อนหลัง 6 เดือน พบว่า
สัดส่วนของคนที่ประจำเดือนมาวันแรก ในช่วงสว่าง ช่วงกลาง และช่วงมืด

ไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

หมายความว่า ดวงจันทร์ไม่ได้ทำให้ประจำเดือนเลื่อนออกไป
หรือมาเร็วขึ้นนั่นเอง
ขณะเดียวกันในคืนที่มีประจำเดือน
ดวงจันทร์อาจส่งผลต่อการนอน

ลองมาดูว่าคนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงสว่าง ช่วงกลาง และช่วงมืด จะนอนหลับสนิท หรือไม่สนิทในเวลากลางคืน

ความสัมพันธ์ของช่วงการมีประจำเดือน
และคุณภาพการนอนย้อนหลัง 6 เดือน
จากการวิจัยพบว่า คนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงมืด จะนอนหลับไม่สนิท กว่าคนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงสว่าง โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนล่าสุด

สัดส่วนของคนที่นอนหลับสนิท และไม่สนิทช่วง 2 เดือนล่าสุด

คนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงสว่างทั้ง 2 เดือน จะนอนหลับสนิทมากที่สุด รองลงมาคือคนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงสว่างและกลาง

ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่ง สำรวจการนอนหลับของชาวอาร์เจนตินาในชนบทและในเมือง รวมถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยในเมืองของสหรัฐฯ พบว่า ในคืนก่อนพระจันทร์เต็มดวง คนจะนอนน้อยลงและเข้านอนดึกขึ้น

คุยกับหมอ

พญ.กตัญญุตา นาคปลัด

สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

Q : ควรดูแลร่างกายอย่างไรระหว่างมีประจำเดือน ?

ระหว่างมีประจำเดือน สามารถใช้ชีวิตปกติ เหมือนช่วงไม่มีประจำเดือน แต่อาจดูแลเพิ่มเติม ได้แก่

1. พักผ่อนให้เพียงพอ ทำให้ไม่เพลียจากการเสียเลือด
2. กินอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กเยอะกว่าปกติ เช่น ตับ ปลา ผักใบเขียวเข้ม
3. หากมีอาการปวดเล็กน้อย สามารถใช้กระเป๋าน้ำอุ่นประคบ หรือกินยาแก้ปวด แต่หากปวดมาก ควรรีบพบแพทย์
4. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
5. บางคนอาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ควรนั่งสมาธิ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และปรับสภาพจิตใจให้ยอมรับว่า ช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

Q : ควรเลือกผ้าอนามัยอย่างไร ?

เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย สามารถใช้ได้ทั้งแบบแผ่น แบบสอด หรือแบบถ้วย ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน สังเกตว่า มีอาการผิดปกติหลังใช้ผ้าอนามัยแต่ละชนิดหรือไม่ เช่น คัน ผื่นขึ้น ควรเปลี่ยนใช้แบบอื่น

หลายครั้งที่มีการถกเถียงในสื่อสังคมออนโลน์ถึงภาระค่าใช้จ่าย “ผ้าอนามัย” ก็มักจะมีความคิดเห็นในมุมที่ว่า “เลือกใช้ผ้าอนามัยตามกำลังทรัพย์ที่มี”

ในความเป็นจริง… หากใช้ตามกำลังทรัพย์ที่มีจะประหยัดได้จริงหรือไม่ ?

ถ้ามีเงิน xx บาท ผ้าอนามัยที่ได้ คือ …

เพื่อสุขอนามัยที่ดี ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง
ใน 1 วัน จะต้องใช้ผ้าอนามัยประมาณ 6 แผ่น
จากการเก็บข้อมูลผ้าอนามัยตามท้องตลาดพบว่า
ผ้าอนามัย 1 แผ่น ราคาประมาณ 5 บาท
ดังนั้นใน 1 วัน ต้องใช้เงินซื้อผ้าอนามัย 30 บาท
ถ้าทำงานได้วันละ 300 บาท
ต้องเสียกว่า 10% ของรายได้ต่อวัน เพื่อซื้อผ้าอนามัย
ขณะเดียวกันก็จะเห็นว่า คุณสมบัติของผ้าอนามัยมีความแปรผันตามราคา
ทางเลือกของคนที่มีกำลังทรัพย์จำกัดจึงน้อยลงตามไปด้วย

Share This

Facebook
X (Twitter)

Created by

Digital Media Department

Content Creator
Pitchaya Jaisuya
Pimtawan Naeprakone
Kantida Kunnapatee
Graphic and Web Designer
Narongsak Somong
Chettida Pichetpaiboon