loader image
ข้ามไปยังเนื้อหา

เด็กนักเรียนเดินเซซ้ายเซขวา กว่าจะสะพายกระเป๋าเป้ขึ้นบ่าได้ พ่อแม่ต้องคอยจับ คอยพยุง บางทีก็แทบจะล้ม… 

เชื่อว่า หลายคนคงเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ ไม่ว่าจะในฐานะของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ครั้งเป็น “เด็กนักเรียน”

แล้วในแต่ละวัน เด้กนักเรียนตัวน้อย ๆ เหล่านี้ต้อง “แบก(สัม)ภาระ” หนักเท่าไรนะ ? 

ลองมาทายกัน

นักเรียนคนไหนแบกกระเป๋านัำหนักเกิน

ทำไมถึงบอกว่า กระเป๋าน้ำหนักเกิน ?  ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัด ?

The Visual จะพาไปหาคำตอบ เพราะ “สัมภาระ” หนัก ๆ ใบนี้ อาจกลายเป็น “ภาระ” ที่หนักหนาสาหัสในอนาคตโดยไม่รู้ตัว

ถ้าแบกกระเป๋า น้ำหนักเกิน จะเป็นอย่างไร ?

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

บริเวณต้นคอ หัวไหล่ แขน และเอว จากการถูกกดทับของกระเป๋าหนัก

test0002-2 test0003-3

หลังงอ หลังค่อม

การสะพายกระเป๋าหนัก ทำให้เด็กโน้มตัวไปด้านหน้า เพื่อรักษาสมดุล เมื่อหลังโค้งงอมากกว่าปกติ ส่งผลต่อการคดของกระดูกสันหลัง และการบาดเจ็บตามมาได้

กระดูกสันหลังคด

คนที่ชอบสะพายกระเป๋าหนักด้วยไหล่ข้างเดียวเป็นประจำ กล้ามเนื้อหลังทั้ง 2 ข้าง จะทำงานไม่เท่ากัน ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังคดตามมาได้

ปัญหานี้เริ่มส่งผลแบบเฉียบพลันก่อน เช่น อาการกล้ามเนื้อตึง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้จากการแบกของหนัก ระยะยาว จะเป็นอาการบาดเจ็บเรื้อรัง เด็กบางคนจะกลายเป็นคนปวดหลังเรื้อรัง และปัญหาที่เราอาจมองไม่เห็นคือ เด็กในวัย 7-9 ขวบ กระดูกยังยืดตัวได้ดีอยู่ ก็จะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่”

รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ฟังคำอธิบายจาก รศ.นพ. อดิศักดิ์ ฉบับเต็ม คลิกวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลย…

Play Video

กระเป๋านักเรียนหนัก ปัญหานี้มีอยู่จริง !

(คลิกปุ่มเขียวเพื่ออ่านข่าว)

หากพิจารณาจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รศ.นพ. อดิศักดิ์ แนะนำว่า การแบกกระเป๋านักเรียนในเด็ก ถ้าจะให้ปลอดภัยเลย คือ น้ำหนักกระเป๋าต้องไม่เกิน 10% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุเด็ก หรืออย่างแย่ที่สุด ต้องไม่เกิน 20% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุเด็ก

เราจึงเอาตัวชี้วัดตรงกลางมาแนะนำ คือ เด็กไม่ควรแบกกระเป๋าหนักเกิน 15% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ

หลัก ๆ จะอยู่ที่ ป.2, ป.3 และ ป.4
ซึ่งมากกว่า 50-60% ของนักเรียน กำลังแบกกระเป๋าหนัก

สอดคล้องกับผลการศึกษาน้ำหนักกระเป๋านักเรียนของศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ทำร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยสุ่มชั่งน้ำหนักกระเป๋าเด็กนักเรียน ป.1 – ป.6 จำนวน 368 คน

พบว่า เด็กนักเรียนชั้น ป.1 – ป.3 มีความเสี่ยงสูงได้รับอันตรายจากการแบกกระเป๋านักเรียนหนัก

เมื่อพิจารณาเฉพาะนักเรียนที่ใช้กระเป๋าหนักกว่าค่า 10% และ 20% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ ก็พบอีกว่า

เด็ก ป.1 - ป.3 มากกว่า 25% ใช้กระเป๋าหนักกว่า 20% จัดอยู่ในเกณฑ์น้ำหนัก อันตรายสูง อันจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง

และมากกว่า 80% ใช้กระเป๋าหนักกว่าค่า 10% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ จัดอยู่ในเกณฑ์ไม่เหมาะสมต้องแก้ไข

กระเป๋านักเรียน หนัก เท่าไรถึงจะดี ?

All
นักเรียนชาย
นักเรียนหญิง
นักเรียนชาย-1
นักเรียนชาย
นักเรียนหญิง-1
นักเรียนหญิง

อย่างไรก็ตาม… แม้จะมี “คำเตือน” ถึงความอันตรายของการแบกกระเป๋านักเรียนหนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในความเป็นจริง ก็ยังพบ “เด็กนักเรียน” อีกมากที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ ไม่ต่างจากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย

เช่น “น้องมิกิ” คนนี้

น้องมิกิ เป็นนักเรียนหญิงชั้น ป.1 อยู่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งมีกระเป๋านักเรียนให้เลือกใช้ 2 แบบ

ถึงน้องมิกิจะชอบกระเป๋าลากมากกว่า แต่ก็ยอมรับว่า ด้วยห้องเรียนที่อยู่ชั้น 4 ของอาคาร และต้องเดินขึ้น-ลงบันไดทุกวัน การใช้กระเป๋าแบบลากก็นับเป็นอุปสรรคสำหรับน้องมิกิไม่น้อย

กระเป๋าน้องมิกิหนักเท่าไรนะ ?

กระเป๋ามีล้อลาก

2 กิโลกรัม

“การใช้งานจริงยากลำบาก ส่วนใหญ่ยกด้วยมือเดียวมากกว่าลากเข็น และต้องยกขึ้นบันได ได้ลากเข็นจริง ๆ ก็ช่วงที่เจอพื้นเรียบ ๆ หน้าห้องเรียนกับลานกิจกรรมที่ผู้ปกครองไปรับ-ส่ง” แม่น้องมิกิ กล่าว

กระเป๋าสะพาย

1 กิโลกรัม

แม่น้องมิกิยืนยันว่า กระเป๋าสะพายธรรมดาใช้งานได้คล่องตัวกว่า

นี่ยังไม่รวมหนังสือ สมุด เอกสาร กล่องดินสอ ขวดน้ำดื่ม พวงกุญแจของเล่นติดที่ซิปกระเป๋า

ยิ่งช่วงหลังในกลุ่มเด็กประถม นิยมนำถุงลวดลายการ์ตูนที่ชื่นชอบถือติดไปด้วย แม้ใส่ของเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็เป็นภาระการถือและเพิ่มน้ำหนัก ซึ่งน้องมิกิก็เป็นหนึ่งในนั้น 

ฉะนั้น พ่อแม่น้องมิกิจึงพยายามให้สะพายกระเป๋านักเรียนแบบธรรมดาไปโรงเรียน เพราะหนักน้อยสุด

(เลื่อนเปิดกระเป๋าน้องมิกิ)

01 03

ชั่งน้ำหนักกระเป๋าน้องมิกิ ตาม ตารางสอน หนัก-ไม่หนัก ?

ผลประเมินน้องมิกิ

น้องมิกิอายุ 7 ขวบ มีน้ำหนัก 18 กิโลกรัม หากคำนวณตามหลักการ 15% (น้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ 22 กิโลกรัม)

น้องมิกิไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักเกิน 3.30 กิโลกรัม ฉะนั้น น้องมิกิจะแบกกระเป๋าหนักเกิน 15% เมื่อใช้กระเป๋าแบบมีล้อลาก แต่หากน้องมิกิใช้กระเป๋าสะพายธรรมดา จะแบกไม่เกิน 15%

*ข้อสังเกต : น้องมิกิน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ หากเทียบน้ำหนักจริงกับหลักการ 15% น้องมิกิไม่ควรแบกกระเป๋าหนักกว่า 2.7 กิโลกรัม

จึงอาจสรุปได้ว่า ไม่ว่าจะใช้กระเป๋าแบบใด น้องมิกิก็กำลังแบกกระเป๋าหนักเกิน

แสดง

ย้อนวัยแชร์ “สิ่งของแปลก” ที่แบกไปโรงเรียน ?

ทางเลือก แก้กระเป๋านักเรียนหนัก

กระเป๋ามีล้อลาก

รศ.นพ. อดิศักดิ์ บอกว่า ลดน้ำหนักได้แน่นอน เพราะแทบจะไม่ต้องแบกเลย จึงไม่มีน้ำหนักถ่วงให้ปวดหลัง แต่ก็มีข้อเสียว่าอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ขึ้นบันไดแล้วเกี่ยว 

หรือบางครั้งพื้นถนนบ้านเราไม่เอื้ออำนวยให้ลาก บางครั้งจึงลากบ้าง ยกบ้าง โดยสรุปแล้วยกมากกว่าลาก อันนี้ก็กลายเป็นแบกข้างเดียว จึงต้องระวัง

ตู้เก็บหนังสือที่โรงเรียน

รศ.นพอดิศักดิ์ บอกว่า เป็นสิ่งที่โรงเรียนในต่างประเทศมี สังเกตได้จากภาพยนตร์เวลาไปโรงเรียน เด็ก ๆ จะไปที่ล็อกเกอร์ของตัวเองก่อนเลย เป็นสิ่งที่ไทยควรมี 

แต่ที่ผ่านมา มักมีคำพูดว่าไม่มีงบฯ แม้จะมีที่เก็บของใต้โต๊ะให้พอเก็บได้ พบว่าโรงเรียนหลายแห่งก็ไม่ได้อนุญาต

E – learning

รศ.นพ. อดิศักดิ์ บอกว่า เทคโนโลยีต่าง ๆ ช่วยลดน้ำหนักได้แน่ แต่ก็ต้องระมัดระวัง อย่างการเพิ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้นักเรียน แต่ครูบางวิชายังให้นำหนังสือมาด้วย ก็หลายเป็นว่ายิ่งไปเพิ่มน้ำหนัก

ขณะเดียวกันการปล่อยให้นักเรียนใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ควบคุมดูแล ก็อาจสร้างปัญหาที่ใหญ่กว่าปัญหากระเป๋านักเรียนหนัก

จัดตารางสอน

รศ.นพ. อดิศักด์ บอกว่า การจัดกระเป๋าเลือกนำสิ่งของไปโรงเรียนให้น้อยที่สุด เป็นอีกทางเลือกที่ทำได้

ทุกฝ่ายต้องช่วยกันออกแบบ อย่างครูสามารถแจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้าว่า วันพรุ่งนี้ต้องเตรียมเอกสารหรือหนังสือมา จะได้ไม่ต้องแบกมาทั้งคู่ ส่วนผู้ปกครอง ต้องช่วยฝึกจัดกระเป๋า ไม่ให้นำสิ่งของที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนไป เช่น ของเล่น

สะพายกระเป๋าให้ ถูกวิธี ก็ช่วยได้

กระเป๋าพอดี – กระจายน้ำหนัก

กระเป๋าเป้ที่ดี ต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับแผ่นหลังเด็ก มีสายสะพาย 2 ข้าง และสายสะพายที่กว้างกว่า 6 เซนติเมตร เพราะสายที่เล็กจะทำให้กดทับบริเวณไหล่ ซึ่งอาจกดลึกจนมีผลต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้

ตัวกระเป๋ายังออกแบบให้มีช่องวางของเพียงพอ และกระจายน้ำหนักได้ทั่วกระเป๋า ไม่หนักฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

ปรับสายสะพายให้เหมาะสม

การใช้กระเป๋าแบกหลัง ต้องปรับสายสะพายเพื่อให้กระเป๋าแนบชิดหลังที่สุด ไม่ห้อยต่ำ

จุดสังเกต คือ ก้นกระเป๋าต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าบั้นเอว และผู้ใช้ต้องเดินตัวตรง ไม่เอนตัวไปด้านหน้า เพราะจะทำให้เกิดการถ่วงน้ำหนักและปวดหลัง

ไม่สะพายด้วยไหล่ข้างเดียว

การแบกกระเป๋าต้องใช้สายสะพายไหล่ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้น้ำหนักกระจายตัวอย่างสมดุล การสะพายไหล่ข้างเดียว อาจดูเท่ แต่กระจายน้ำหนักไม่ดี จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการปวดต้นคอ ไหล่ และหลังได้

แล้วคุณล่ะ… คิดว่าวิธีการแก้ไขปัญหา “The แบก ตัวน้อย” แบบไหนที่ดีที่สุดในตอนนี้ ?

Loading

The Bag To... "The แบก" ไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ อย่าปล่อยให้ "สัมภาระ" กลายเป็น "ภาระ" ของเด็ก ๆ ในอนาคต

Share This 👇

Facebook
X (Twitter)
CREATED BY

Content Creator
Chalee Nawatharadol
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya

Graphic Designer
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon

 

อ้างอิง: