นกเงือก
นักปลูกป่า ผู้คลั่งรัก
เมื่อกาลเวลาหมุนวนมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ เดือนที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งความรัก
“วันวาเลนไทน์” (Valentine’s Day)
หากจะให้นึกสัญลักษณ์ที่เป็นดั่งตัวแทน
หนึ่งในนั้นย่อมปรากฏชื่อ
“นกเงือก”
Hornbill
สัตว์ที่ถูกขนานนามยกย่องว่า
“รักเดียวใจเดียว”
แต่รู้ไหมว่า “นกเงือก” พวกนี้ ไม่ได้โดดเด่นแค่ด้านความรักเพียงอย่างเดียว ยังมีบทบาทสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่เกิดจากพฤติกรรม “กินแล้วทิ้ง” ของมัน
“นกเงือก” ถือกำเนิดมาไม่น้อยกว่า 50 ล้านปี ความยาวเฉลี่ย 75-150 เซนติเมตร
สำหรับ 13 ชนิดที่ปรากฏด้านบนนี้ เป็นเพียงชนิดที่อาศัยอยู่ในไทยเท่านั้น
หากนับทั้งโลกจะมีมากกว่า 52 ชนิด รวมกับ Ground Hornbills อีก 2 ชนิด
แหล่งที่อยู่อาศัยมักจะอยู่แถบภูมิภาคแอฟริกา, เอเชีย และเมลานีเซีย
และจะอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
“ถ้าพื้นที่ไหนมีประชากรนกเงือกอยู่
ป่านั้นจะมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์”
จากข้อมูลของมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า นกเงือกช่วยกระจายพันธุ์ไม้กว่า 200 ชนิด เพราะพฤติกรรมกิน “ผลไม้สุก” และการนำ “เมล็ดไปทิ้ง”
ผลการวิจัยหลัก 3 พื้นที่ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี จ.นราธิวาส พบว่า
หากนกเงือกมีอายุยืนถึง
ดังนั้น ตลอดชีวิตของนกเงือก 1 ตัว
อาจปลูกต้นไม้ใหญ่ได้ถึง
แต่จะเป็นอย่างไร ?
หาก “นักปลูกป่า” ต้องกลายเป็น “ผู้ถูกล่า”
ปี 2562 ไทยพีบีเอสรับข้อมูลว่า ลูกนกชนหินมีราคาสูงที่สุดในบรรดานกเงือกทั้งหมด
ราคาต่อตัวอยู่ที่
แต่หากส่งรวมพ่อแม่ด้วย จะมีราคาสูงถึง 45,000 บาท
เพราะหัวของนกชนหินเป็นเครื่องประดับราคาแพงในตลาดมืด
นกเงือก “ผู้คลั่งรัก”
การผสมพันธุ์ของนกเงือกเป็นแบบ monogamy คือ ตัวผู้ 1 ตัว ผสมพันธุ์กับตัวเมีย 1 ตัว ในช่วงฤดูผสมพันธุ์
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ แม่นกเงือกจะหาโพรงรัง แล้ววางไข่และจะขังตัวเองอยู่ในโพรง ไม่ออกมาจนกว่าลูกนกเงือกจะโตพอที่จะบินได้ กินระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งระหว่างนั้นพ่อนกเงือกจะคอยหาอาหาร มาป้อนให้ จนกว่าจะแข็งแรงและออกจากโพรง
จากสิ่งนี้สอดรับกับความกังวลของ
มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
นั่นคือ หากนกเงือกตัวผู้ถูกล่าในระหว่างการหาอาหารมาป้อนแม่นกที่โพรงรัง หมายความว่า อาจไม่ใช่แค่ 1 ชีวิต ที่ต้องหายไปจากระบบนิเวศเท่านั้น
ที่สำคัญ…
นกเงือกจะจับคู่ผสมพันธุ์กับ
“คู่ตัวเดิมตลอดชีวิต”
แม้ว่าคู่ตัวเดิมจะตายหรือหายไป
มันก็จะไม่หาคู่ตัวใหม่
ด้วยพฤติกรรมที่ว่ามานั้น จึงไม่แปลกนักหากจะยกให้ “นกเงือก” เป็นสัญลักษณ์ของ “รักแท้” และเป็นตัวบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า
Share This
Created by
Digital Media Department
Content Creator
Kantida Kunnapatee
Chalee Nawatharadol
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya
Graphic and Web Designer
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon