loader image

นกเงือก

นักปลูกป่า ผู้คลั่งรัก

เมื่อกาลเวลาหมุนวนมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ เดือนที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งความรัก
“วันวาเลนไทน์” (Valentine’s Day)

หากจะให้นึกสัญลักษณ์ที่เป็นดั่งตัวแทน
หนึ่งในนั้นย่อมปรากฏชื่อ

นกเงือก

Hornbill

สัตว์ที่ถูกขนานนามยกย่องว่า

“รักเดียวใจเดียว”

แต่รู้ไหมว่า “นกเงือก” พวกนี้ ไม่ได้โดดเด่นแค่ด้านความรักเพียงอย่างเดียว ยังมีบทบาทสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่เกิดจากพฤติกรรม กินแล้วทิ้ง ของมัน

 “นกเงือก” ถือกำเนิดมาไม่น้อยกว่า 50 ล้านปี ความยาวเฉลี่ย 75-150 เซนติเมตร

สำหรับ 13 ชนิดที่ปรากฏด้านบนนี้ เป็นเพียงชนิดที่อาศัยอยู่ในไทยเท่านั้น

หากนับทั้งโลกจะมีมากกว่า 52 ชนิด รวมกับ Ground Hornbills อีก 2 ชนิด
แหล่งที่อยู่อาศัยมักจะอยู่แถบภูมิภาคแอฟริกา, เอเชีย และเมลานีเซีย
และจะอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง

“ถ้าพื้นที่ไหนมีประชากรนกเงือกอยู่
ป่านั้นจะมีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์”

จากข้อมูลของมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า นกเงือกช่วยกระจายพันธุ์ไม้กว่า 200 ชนิด เพราะพฤติกรรมกิน “ผลไม้สุก” และการนำ “เมล็ดไปทิ้ง”

ผลการวิจัยหลัก 3 พื้นที่ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี จ.นราธิวาส พบว่า

หากนกเงือกมีอายุยืนถึง

0
ปี

ดังนั้น ตลอดชีวิตของนกเงือก 1 ตัว
อาจปลูกต้นไม้ใหญ่ได้ถึง 

0
ต้น

แต่จะเป็นอย่างไร ?
หาก “นักปลูกป่า” ต้องกลายเป็น “ผู้ถูกล่า”

ปี 2562 ไทยพีบีเอสรับข้อมูลว่า​ ลูกนกชนหินมีราคาสูงที่สุดในบรรดานกเงือกทั้งหมด​

ราคาต่อตัวอยู่ที่

0
บาท ขึ้นไป

แต่หากส่งรวมพ่อแม่ด้วย จะมีราคาสูงถึง 45,000 บาท
เพราะหัวของนกชนหินเป็นเครื่องประดับราคาแพงในตลาดมืด

Play Video

นกเงือก “ผู้คลั่งรัก”

การผสมพันธุ์ของนกเงือกเป็นแบบ monogamy คือ ตัวผู้ 1 ตัว ผสมพันธุ์กับตัวเมีย 1 ตัว ในช่วงฤดูผสมพันธุ์

ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ แม่นกเงือกจะหาโพรงรัง แล้ววางไข่และจะขังตัวเองอยู่ในโพรง ไม่ออกมาจนกว่าลูกนกเงือกจะโตพอที่จะบินได้ กินระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งระหว่างนั้นพ่อนกเงือกจะคอยหาอาหาร มาป้อนให้ จนกว่าจะแข็งแรงและออกจากโพรง

จากสิ่งนี้สอดรับกับความกังวลของ 
มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
นั่นคือ หากนกเงือกตัวผู้ถูกล่าในระหว่างการหาอาหารมาป้อนแม่นกที่โพรงรัง หมายความว่า อาจไม่ใช่แค่ 1 ชีวิต ที่ต้องหายไปจากระบบนิเวศเท่านั้น

ที่สำคัญ…

นกเงือกจะจับคู่ผสมพันธุ์กับ 
“คู่ตัวเดิมตลอดชีวิต”
แม้ว่าคู่ตัวเดิมจะตายหรือหายไป
มันก็จะไม่หาคู่ตัวใหม่

ด้วยพฤติกรรมที่ว่ามานั้น จึงไม่แปลกนักหากจะยกให้ “นกเงือก” เป็นสัญลักษณ์ของ “รักแท้” และเป็นตัวบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า

Share This

Facebook
X (Twitter)

Created by

Digital Media Department

Content Creator
Kantida Kunnapatee
Chalee Nawatharadol
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya

Graphic and Web Designer
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon