loader image
ข้ามไปยังเนื้อหา

ผลพวงของภาวะโลกเดือด ไม่เพียงทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนไป 

แต่ยังส่งผลต่อสรรพชีวิตบนโลก กระทั่งสัตว์ พืช และโรค เปลี่ยนตาม

โดยเฉพาะ “ยุงลาย”

มีงานวิจัยหลายชิ้นบอกตรงกันว่าเมื่อโลกร้อนขึ้น

ยุงลายจะเติบโตเร็วขึ้น

ขยายพันธุ์ไว

และกัดบ่อยขึ้น

อากาศร้อนชื้นอย่างไทยเหมาะสม !

ในไทยก็มีการศึกษาเรื่องดังกล่าว เป็นโครงการวิจัยเรื่อง “อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อยุงพาหะนำโรคในพื้นที่ชายฝั่งทะเล”

ของ มรภ.สวนสุนันทา เก็บตัวอย่างยุง จ.สมุทรสงคราม มาศึกษาวงจรการเติบโตและการแพร่พันธุ์จากภาวะโลกร้อน

เพื่อหาทางควบคุมยุงให้เหมาะกับพื้นที่

ยุงยุคโลกเดือด ออกดูดเลือดไวขึ้น !

ภาวะโลกเดือดส่งผลต่อวงจรชีวิตยุง ผศ. ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัทรา หัวหน้าโครงการวิจัยฯ มรภ.สวนสุนันทา

เปรียบเทียบยุงในอดีต ในช่วงที่อุณหภูมิโลกไม่สูง ยุงพัฒนาค่อนข้างช้า จากระยะไข่ไปถึงตัวโตเต็มวัย ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

แต่เมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่สูงขึ้น

การพัฒนาและเติบโตจะไวขึ้น จากไข่ไปถึงตัวโตเต็มวัย

จะลดเหลือ 1 สัปดาห์ !

ผศ. ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัทรา หัวหน้าโครงการวิจัยฯ มรภ.สวนสุนันทา

  

“ผลกระทบจากอากาศร้อนขึ้น ยุงจะมีขนาดเล็กลง และมีโอกาสโจมตีมนุษย์บ่อยขึ้น เพราะตัวเล็ก การย่อยเลือดจะค่อนข้างไว” 

จับตา “ไข้เลือดออก” ระบาด

หนึ่งในโรคระบาดที่เกิดจากยุงลายคือ ไข้เลือดออก

จากข้อมูลย้อนหลัง 6 ปี (2561-2566) พบว่าในปี 2566 ไข้เลือดออกระบาดรุนแรงกว่าทุกปี

ทั่วไทยมีผู้ป่วยรวมกว่า 160,000 คน เสียชีวิต 180 คน 

เมื่อดูยอดผู้เป็นโรคไข้เลือดออกในแต่ละเดือน

พบว่าเดือน ก.ค.-ส.ค.

เป็นช่วงที่ไข้เลือดออกระบาดสูงสุดของปี

แต่ใน 3 เดือนแรกของปี 2567 พบผู้ติดเชื้อแล้ว 23,000 คน 

มากกว่า 2 เท่า

เทียบช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2566

จึงมีความกังวลว่าปีนี้การติดเชื้ออาจสูงขึ้น

โดยมีสภาพอากาศร้อนชื้นในช่วงนี้ เป็นปัจจัยเร่งให้มียุงลายล้นเมือง

ป่วย

ปิติ มงคลางกูร นักกีฎวิทยา กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค บอกว่า

จากนี้ยุงจะเกิดขึ้นมากกว่าปกติ เพราะมันเติบโตเร็ว ช่วงเป็นลูกน้ำมันสั้น

มันก็ออกมาผลิตลูกน้ำอีก วนไป ๆ ทบกันไปเรื่อย ๆ ยุงพวกนี้เกิดขึ้นมาก เพราะภาวะโลกร้อน

ปิติ มงคลางกูร นักกีฎวิทยา กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

 

“พายุฤดูร้อนที่ผ่านไป 

จะเป็นตัวเคาะระฆัง

ให้ลูกยุงฟักออกมา 

มันจะมาแสดงผลหลังสงกรานต์ 

ยุงตัวเล็กดูดเลือด เสี่ยงเป็นไข้เลือดออกไหม ?

หลายคนอาจสงสัยว่ายุงตัวเล็ก จะมีเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกเลยหรือไม่ ปิติ บอกว่า เชื้อไวรัสที่อยู่ในตัวยุง จะโตเร็วตามยุงไปด้วย มันก็สามารถแพร่โรคได้เลยในการกัดครั้งแรกของมัน สำหรับยุงที่เจริญจากไข่ที่มีเชื้อ

ส่วนในปี 2567

วัยเด็กยังคงเป็นกลุ่มที่เป็นโรคไข้เลือดออกสูงสุด 

แต่กลุ่มคนอายุ 65 ปีขึ้นไป แม้จะติดโรคน้อยกว่า

แต่โอกาสเสียชีวิตมีมากกว่า

หลายคนอาจสงสัยว่า “ผู้ชาย-ผู้หญิง”

ใครป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากกว่ากัน ?

จาก “ไข้เลือดออก” ย้อนไปที่ “ยุงลายยุคโลกเดือด”

เหตุนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้โลกร้อน 

แล้วเราจะหยุดโลกร้อนได้อย่างไร

หาคำตอบกับ

ข้อมูล : รายการข่าวเจาะย่อโลก, สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2566 กรมควบคุมโรค

Share This

Facebook
X (Twitter)

Created by

Digital Media Department

Content Creator
Chalee Nawatharadol
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya

Graphic and Web Designer
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon