มหากาพย์ แลนด์บริดจ์
แนวคิดสะพานเศรษฐกิจภาคใต้
แนวคิดเชื่อมทะเล 2 ฝั่ง ระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน – ฝั่งอ่าวไทย เป็นแนวคิดที่มีมาอย่างยาวนาน ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2220 ในสมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ เรื่อยมาจนภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
รื้อแผนขุดคลองคอคอดกระ
"อังกฤษ" ห้ามไทยขุดคลอง ก่อนได้รับความยินยอม
ศึกษาความเป็นไปได้อย่างจริงจังครั้งแรก
เสนอให้ขุดคอคอดกระที่ จ.ระนอง
ทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
"รัฐบาลเปรม 2" เดินหน้า - ศึกษาดูงาน
กระบี่-ขนอม
พ.ศ. 2536-2540
พ.ศ. 2531 รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ สนับสนุนโครงการอย่างชัดเจน เน้นนโยบายให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาสัมปทาน ซึ่งมีไต้หวัน เยอรมนี ญี่ปุ่น เสนอตัวลงทุน แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้พิจารณา
พ.ศ. 2532 ครม. อนุมัติแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือ ‘เซาเทิร์นซีบอร์ด’ (Southern Seaboard Development Plan: SSB) มีสาระสำคัญที่จะพัฒนา “สะพานเศรษฐกิจ”” (Land bridge) เชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย
พ.ศ. 2533 รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ให้ความสำคัญกับโครงการ ‘อีสเทิร์นซีบอร์ด’ (Eastern Seaboard) ที่เป็นการเปิดประตูสู่อินโดจีนมาเป็นอันดับ 1 การขุดคลองจึงสำคัญรองลงมา ไม่มีการรีบเร่งพิจารณา หลังจากนั้นก็ต้องหยุดชะงักอีกครั้ง เพราะรัฐบาลถูกรัฐประหารโดย รสช. (นำโดย พล.อ. สุจินดา คราประยูร)
"กระบี่ - ขนอม" จุดเริ่มต้นสร้างสะพานเศรษฐกิจภาคใต้
สผ. เสนอย้ายจุดตั้งท่าเรือ
ทับละมุ-สิชล
พ.ศ. 2540-2547
โครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน (Strategic Energy Land Bridge) และโครงการจัดตั้งคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี หรือ SELB เชื่อมโยงพื้นที่ทับละมุ จ.พังงา (ฝั่งทะเลอันดามัน) กับ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช (ฝั่งอ่าวไทย) และถือว่าเป็นโครงการหลักตามแผนพัฒนา ‘เซาเทิร์นซีบอร์ด’
วิกฤตเศรษฐกิจในรัฐบาล พล.อ. ชวลิต ทำให้โครงการหยุดชะงัก
ปากบารา-สงขลา
พ.ศ. 2548-2561
เชื่อมโยงโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล (ฝั่งทะเลอันดามัน) กับท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา (ฝั่งอ่าวไทย) เพื่อให้เป็นประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (Logistics Master Plan)
หลังจากนั้น พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้จะไม่ดำเนินการขุดคลองโดยเด็ดขาด เนื่องจากมองว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม
17 เม.ย. 2561 พื้นที่ฝั่งสตูล (อุทยานธรณีสตูล) ได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีโลกจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงต้องยุติโครงการลง
22 พ.ย. 2562 ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายละเอียด หรือ EHIA เพื่อยุติการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก จ.สตูล (ปากบารา)
ระนอง-ชุมพร
พ.ศ. 2561-2567
รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์
หาเสียงเลือกตั้ง
ไทยสร้างไทยหาเสียง ประกาศนโยบายขุดคลองไทย
ภูมิใจไทยหาเสียงยืนยันเดินหน้าแลนด์บริดจ์
รัฐบาลเศรษฐา
"ภูมิใจไทย" จี้สานต่อแลนด์บริดจ์
เริ่มโรดโชว์
“ผมลองวาดเส้นทางของ Landbridge ให้กับทางผู้ประกอบการรถไฟในประเทศจีนให้เข้าใจง่ายขึ้น" นายเศรษฐาโพสต์ผ่าน X (Twitter)
สภาฯ ตั้ง กมธ.แลนด์บริดจ์
สส. ก้าวไกล ลาออก ก่อน กมธ. เห็นชอบรายงาน
ขณะที่ กมธ.แลนด์บริดจ์ มีมติเห็นชอบรายงานผลการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ของ กมธ. โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และลงมติเสนอไปยัง ครม. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป