loader image

มหากาพย์ แลนด์บริดจ์

แนวคิดสะพานเศรษฐกิจภาคใต้

แนวคิดเชื่อมทะเล 2 ฝั่ง ระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน – ฝั่งอ่าวไทย เป็นแนวคิดที่มีมาอย่างยาวนาน ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2220 ในสมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ เรื่อยมาจนภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

พ.ศ. 2478
รื้อแผนขุดคลองคอคอดกระ
ปรีดี พนมยงค์ รมว.มหาดไทย ในรัฐบาล พระยาพหลพลพยุหเสนา รื้อฟื้นแผนขุดคลองคอคอดกระ โดยมีแนวคิดว่า ไม่ควรพึ่งพาต่างชาติมาดำเนินโครงการ เพื่อให้ไทยมีอำนาจอธิปไตยเหนือคลอง จุดประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ต้องยุติลง เนื่องจากไม่มีงบประมาณเพียงพอ

พ.ศ. 2478
1 ม.ค. 2489
"อังกฤษ" ห้ามไทยขุดคลอง ก่อนได้รับความยินยอม
หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยลงนามในข้อตกลงสมบูรณ์เพื่อเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ โดยห้ามไทยขุดคลองเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย หากมิได้รับความยินยอมจากรัฐบาลอังกฤษ แต่ก็ได้ยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวในปี พ.ศ. 2497

1 ม.ค. 2489
พ.ศ. 2516
ศึกษาความเป็นไปได้อย่างจริงจังครั้งแรก
รัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร อนุญาตให้ เชาว์ ขวัญยืน นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน ทำการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยว่าจ้างบริษัท TAMS จากสหรัฐฯ และบริษัทฯ ยืนยันว่า การขุดคลองมีความเป็นไปได้สูง และควรขุดในแนว 5A (สตูล - สงขลา) แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง

พ.ศ. 2516
พ.ศ. 2525
เสนอให้ขุดคอคอดกระที่ จ.ระนอง
สส. พรรคชาติไทย เสนอให้มีการขุดคอคอดกระที่ระนอง แต่ถูกระงับด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง
พ.ศ. 2525
พ.ศ. 2528
ทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
รัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ จุดเริ่มต้นการร่นระยะทางข้ามทะเลอันดามัน - อ่าวไทย

พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2530
"รัฐบาลเปรม 2" เดินหน้า - ศึกษาดูงาน
การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีส่วนสำคัญที่ทำให้โครงการเดินหน้าอย่างรวดเร็ว โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและนายทหารระดับสูงจาก 3 เหล่าทัพ ศึกษาดูงานคลองสุเอซและคลองปานามา ศึกษาเทคโนโลยีการสร้างเขื่อนและระบบควบคุมน้ำในเนเธอร์แลนด์ แต่ก็ต้องหยุดชะงัก เมื่อเจอวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก มีการลดค่าเงินบาท
พ.ศ. 2530

กระบี่-ขนอม

พ.ศ. 2536-2540

เส้นทางแรกที่เชื่อมโยงทะเลอันดามัน – อ่าวไทย จุดประสงค์เพื่อขนส่งสินค้าและสร้างโอกาสด้านการแข่งขันให้กับภาคใต้ รองรับอุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมีและพลังงาน ตามแผนหลักของ ‘เซาเทิร์นซีบอร์ด’

พ.ศ. 2532-2533

พ.ศ. 2531 รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ สนับสนุนโครงการอย่างชัดเจน เน้นนโยบายให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาสัมปทาน ซึ่งมีไต้หวัน เยอรมนี ญี่ปุ่น เสนอตัวลงทุน แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้พิจารณา

พ.ศ. 2532 ครม. อนุมัติแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือ ‘เซาเทิร์นซีบอร์ด’ (Southern Seaboard Development Plan: SSB) มีสาระสำคัญที่จะพัฒนา “สะพานเศรษฐกิจ”” (Land bridge) เชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย

พ.ศ. 2533 รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ให้ความสำคัญกับโครงการ ‘อีสเทิร์นซีบอร์ด’ (Eastern Seaboard) ที่เป็นการเปิดประตูสู่อินโดจีนมาเป็นอันดับ 1 การขุดคลองจึงสำคัญรองลงมา ไม่มีการรีบเร่งพิจารณา หลังจากนั้นก็ต้องหยุดชะงักอีกครั้ง เพราะรัฐบาลถูกรัฐประหารโดย รสช. (นำโดย พล.อ. สุจินดา คราประยูร)

อ่านต่อ
22 มิ.ย. 2536
"กระบี่ - ขนอม" จุดเริ่มต้นสร้างสะพานเศรษฐกิจภาคใต้
รัฐบาล ชวน หลีกภัย มีมติให้ก่อสร้างทางหลวงสายกระบี่ - ขนอม (ทางหลวงแผ่นดิน 44) นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสะพานเศรษฐกิจในภาคใต้ ดำเนินการสร้างปี พ.ศ. 2542 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2546

22 มิ.ย. 2536
พ.ศ. 2538
สผ. เสนอย้ายจุดตั้งท่าเรือ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ศึกษาพบว่า โครงการแลนด์บริดจ์ กระบี่ - ขนอม จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเสนอให้ย้ายที่ตั้งท่าเรือไปยังตำแหน่งที่มีผลกระทบน้อยที่สุด
พ.ศ. 2538

ทับละมุ-สิชล

พ.ศ. 2540-2547

โครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน (Strategic Energy Land Bridge) และโครงการจัดตั้งคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี หรือ SELB เชื่อมโยงพื้นที่ทับละมุ จ.พังงา (ฝั่งทะเลอันดามัน) กับ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช (ฝั่งอ่าวไทย) และถือว่าเป็นโครงการหลักตามแผนพัฒนา ‘เซาเทิร์นซีบอร์ด’

5 พ.ย. 2539 และ 1 เม.ย. 2540
วิกฤตเศรษฐกิจในรัฐบาล พล.อ. ชวลิต ทำให้โครงการหยุดชะงัก
รัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ มีมติให้กำหนดที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ เป็นบริเวณบ้านทับละมุ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา และบ้านบางบ่อ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ การประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ประเทศอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

5 พ.ย. 2539 และ 1 เม.ย. 2540
พ.ศ. 2544
วุฒิสภาอนุมติจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ และรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม
พ.ศ. 2544
2 ก.ย. 2546
ครม. ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร มีมติเห็นชอบในยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศไทย พัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค ชื่อว่า โครงการ Strategic Energy Land Bridge (SELB) เพื่อขนส่งน้ำมันเป็นหลัก ก่อนที่โครงการจะชะงักไป เพราะเกิดภัยพิบัติสึนามิในปี พ.ศ. 2547

2 ก.ย. 2546

ปากบารา-สงขลา

พ.ศ. 2548-2561

เชื่อมโยงโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล (ฝั่งทะเลอันดามัน) กับท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา (ฝั่งอ่าวไทย) เพื่อให้เป็นประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (Logistics Master Plan)

พ.ศ. 2548
ครม. ในรัฐบาลทักษิณ 2 มีมติเห็นชอบโครงการเชื่อมโยงท่าเรือ 2 แห่ง ที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่ที่ ต.ปากบารา อ.ละงู จ.สตูล (ฝั่งทะเลอันดามัน) และที่บ้านสวนกง อ.จะนะ จ.สงขลา (ฝั่งอ่าวไทย)
พ.ศ. 2548
24 มิ.ย. 2548
วุฒิสภาเห็นชอบให้ขุดคลองในเส้นทาง 9A และให้เรียกชื่อว่า "คลองไทย"

24 มิ.ย. 2548
พ.ศ. 2552
ครม. ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติให้พัฒนาท่าเรือสองฝั่งทะเล โดยการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา (ฝั่งทะเลอันดามัน) และท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 (ฝั่งอ่าวไทย)
พ.ศ. 2552
9 ม.ค. 2559
ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรีและอดีตนายกฯ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศ สนับสนุนการศึกษาความเป็นไปในการขุดคอคอดกระ เพื่อไทยจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

หลังจากนั้น พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้จะไม่ดำเนินการขุดคลองโดยเด็ดขาด เนื่องจากมองว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม
9 ม.ค. 2559
พ.ศ. 2561-2562

17 เม.ย. 2561 พื้นที่ฝั่งสตูล (อุทยานธรณีสตูล) ได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีโลกจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงต้องยุติโครงการลง

22 พ.ย. 2562 ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายละเอียด หรือ EHIA เพื่อยุติการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก จ.สตูล (ปากบารา)

อ่านต่อ

ระนอง-ชุมพร

พ.ศ. 2561-2567

หนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมต่อแหลมอ่าวอ่าง อ.ราชกรูด จ.ระนอง (ฝั่งทะเลอันดามัน) กับแหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย)

รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์

21 ส.ค. 2561
ครม. มีมติมอบหมายให้ สศช. ศึกษาความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
21 ส.ค. 2561
16 ม.ค. 2563
สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาการขุดคลองไทยและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้
16 ม.ค. 2563
4 ก.พ. 2564
ครม. ประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 กำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)
4 ก.พ. 2564
22 เม.ย. 2565
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ฯ ครั้งที่ 2/2565 ระบุว่า ที่ปรึกษาเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม คือ แหลมอ่าวอ่าง จ.ระนอง และแหลมริ่ว จ.ชุมพร
22 เม.ย. 2565
20 ก.ย. 2565
ครม. มีมติเห็นชอบให้พื้นที่ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)

20 ก.ย. 2565
8 พ.ย. 2565
มีการเผยแพร่รายงานฉบับสมบรูณ์ "โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย" จัดทำโดย สศช. และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ระบุว่า ทางเลือกที่เหมาะสม คือ พัฒนาต่อจากสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก
8 พ.ย. 2565

หาเสียงเลือกตั้ง

16 ก.พ. 2566
ไทยสร้างไทยหาเสียง ประกาศนโยบายขุดคลองไทย
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ประกาศขุดคลองไทยหากได้เป็นรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็น Economic corridor
16 ก.พ. 2566
23 เม.ย. 2566
ภูมิใจไทยหาเสียงยืนยันเดินหน้าแลนด์บริดจ์
อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย หาเสียง จ.ระนอง จะผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ เชื่อม 2 ฝั่งทะเล เปลี่ยนระนองเป็นเมืองเศรษฐกิจระดับโลก
23 เม.ย. 2566

รัฐบาลเศรษฐา

20 ก.ย. 2566
"ภูมิใจไทย" จี้สานต่อแลนด์บริดจ์
หลังจัดตั้งรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และพรรคภูมิใจไทย เรียกร้อง สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม สานต่อโครงการแลนด์บริดจ์ โดยสุริยะยืนยันเดินหน้าโครงการ แต่รอ สนข. ศึกษารายละเอียดให้แล้วเสร็จ
20 ก.ย. 2566
16 ต.ค. 2566
ครม. มีมติรับทราบโครงการ และให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการรับฟังความเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ (Road Show)
16 ต.ค. 2566
17 ต.ค. 2566
เริ่มโรดโชว์
เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว.การคลัง เริ่มโรดโชว์โครงการ ระหว่างการเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ

“ผมลองวาดเส้นทางของ Landbridge ให้กับทางผู้ประกอบการรถไฟในประเทศจีนให้เข้าใจง่ายขึ้น" นายเศรษฐาโพสต์ผ่าน X (Twitter)



17 ต.ค. 2566
20 ต.ค. 2566
สภาฯ ตั้ง กมธ.แลนด์บริดจ์
สภาผู้แทนราษฎรตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาการเชื่อมสะพานเศรษฐกิจเพื่อเชื่อมภูมิภาคระหว่างฝั่งอันดามันและอ่าวไทย (กมธ.แลนด์บริดจ์) กำหนดระยะเวลาพิจารณา 90 วัน
20 ต.ค. 2566
15 พ.ย. 2566
สภาประชาชนภาคใต้ และภาคีเครือข่าย ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรื่อง "หยุดแลนด์บริดจ์ ระนอง - ชุมพร" ยืนยันจะร่วมกันคัดค้านโครงการนี้อย่างถึงที่สุดจนกว่ารัฐบาลจะหยุดโครงการนี้
15 พ.ย. 2566
6 ม.ค. 2567
กมธ.แลนด์บริดจ์ ลงพื้นที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
6 ม.ค. 2567
12 ม.ค. 2567
สส. ก้าวไกล ลาออก ก่อน กมธ. เห็นชอบรายงาน
สส. พรรคก้าวไกล 4 คน ประกาศลาออกจาก กมธ.แลนด์บริดจ์ มองว่า รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของเรื่องนี้ ยังไม่มีความชัดเจนอีกหลายประเด็น และต้องการให้ สนข. ชี้แจ้งเพิ่มอีก

ขณะที่ กมธ.แลนด์บริดจ์ มีมติเห็นชอบรายงานผลการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ของ กมธ. โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และลงมติเสนอไปยัง ครม. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

12 ม.ค. 2567
22 - 23 ม.ค. 2567
ครม.สัญจร จ.ระนอง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว.การคลัง นำทีมประชุม ครม. สัญจร จ.ระนอง ดูพื้นที่โครงการแลนด์บริดจ์ "ชุมพร - ระนอง" ท่ามกลางการยื่นหนังสือคัดค้านจากภาคประชาสังคมในพื้นที่



22 - 23 ม.ค. 2567