loading
bg_computer
title
start_button
bg_computer
โควิด-19 แช่แข็งระบบการศึกษา

เด็กกว่าครึ่งหนึ่งของโลกได้รับผลกระทบ
หลังโรงเรียนต้องประกาศหยุดเรียน

เด็กกว่าครึ่งหนึ่งของโลกได้รับผลกระทบ หลังโรงเรียนต้องประกาศหยุดเรียน

(เก็บข้อมูลในช่วง 16/02/2020 - 31/07/2021 โดย UNESCO)

arrow_rightchart_1

เด็กไทยกว่า 15 ล้านคนในทุกระดับ
การศึกษา พร้อมครูอาจารย์ และ
ผู้ปกครองถูกผลักสู่การเรียนทางไกล
ไม่ว่าพวกเขาจะพร้อมหรือไม่

เด็กไทยกว่า 15 ล้านคน
ในทุกระดับการศึกษา
พร้อมครูอาจารย์ และ
ผู้ปกครอง ถูกผลักสู่การเรียน
ทางไกล ไม่ว่าพวกเขาจะ
พร้อมหรือไม่

เด็กไทยในระบบการศึกษาที่ได้รับผลกระทบ
15,401,441 คน

chart_2

อย่างที่เรารู้และพูดคุยกันมาตลอด..ไม่ใช่เด็กไทยทุกคนที่พร้อมกับการเรียนออนไลน์ และทำให้หลายชีวิตหลุดจากระบบการศึกษาไปอย่างน่าเสียดาย

47%

ไม่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สำหรับใช้ในการเรียน หรือเอาไว้ทำการบ้าน

ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่ (84%) เป็นเด็กยากจน

หมายเหตุ : สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนอายุ 15 ปี โดย OECD ในปี 2018 อ่านงานวิจัยฉบับเต็มmore_details

ปัญหาที่รายล้อมรอบด้าน
ทำให้แวดวงการศึกษาทั่วโลกเร่งหาทางออก

ผู้คนทุกระดับในระบบการศึกษาเร่งหากลวิธีเพื่อทำให้ “การเรียนทางไกล” เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งหลาย ๆ ตัวอย่าง ก็น่าสนใจลองเอามาปรับใช้ในประเทศไทย

Join

hand

ภาครัฐ
ทำอะไร?

สถานศึกษา

peoplemuted

ครู/ห้องเรียน

peoplemuted

ผู้ปกครอง/บ้าน

peoplemuted
รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกได้ยื่นมือมาให้ความช่วยเหลือด้านการจัดหาทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้การเรียนทางไกลเกิดขึ้นได้

TV Broadcast

จัดหา/ทำช่องทีวีสำหรับการเรียนรู้

133 ประเทศ

tv

Radio Broadcast

จัดหา/ทำช่องวิทยุสำหรับการเรียนรู้

61 ประเทศ

radio

Library of Materials

จัดส่งหนังสือ รวมถึงรวบรวมแหล่งความรู้ให้เข้าถึงได้สะดวก

8 ประเทศ

library

Online Platform / E-learning

แพลตฟอร์มเรียนทางออนไลน์ ซึ่งบางประเทศ พัฒนาให้เข้าถึงได้แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต

153 ประเทศ

elearning

Device Support

จัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้

8 ประเทศ

device

Free Internet / Free Wi-Fi

จัดหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้

8 ประเทศ

wifi

Psychological Support

จัดบริการให้คำปรึกษากับนักเรียน/นักศึกษาที่อาจมีภาวะเครียดหรือกดดัน

2 ประเทศ

psychological
uk_platform
circle

1

แพลตฟอร์มร้องขอความช่วยเหลือโดยตรงจากรัฐ

england_flag

สหราชอาณาจักร

ในสหราชอาณาจักรก็เผชิญกับปัญหา เด็กมากหน้าหลายตาไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาทางไกลได้ เพราะขาดแคลนอุปกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาล UK จึงจัดให้!! เปิดเว็บไซต์แจก Laptop Tablet และ Router กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต 4G ให้เด็กที่ขาดแคลนทรัพยากรเข้ามากรอกข้อมูลเพื่อขอความช่วยเหลือได้

bitesize_clipart
circle

2

สื่อสาธารณะกลายมาเป็นห้องเรียน

england_flag

สหราชอาณาจักร

ขณะที่องค์กรสื่อสาธารณะของสหราชอาณาจักร อย่าง BBC ก็ก้าวเข้ามา มีส่วนช่วยให้เด็ก ๆ ทั้งประเทศ สามารถเรียนตามกันไดัทัน ด้วยรายการสอนหนังสือตามหลักสูตร ออกอากาศทางช่อง CBBC, BBC Two และ iPlayer พร้อมดึงแพลตฟอร์มการศึกษาอย่าง BBC Bitesize มาเป็นแหล่งรวมเครื่องมือการเรียนรู้ ทั้งในรูปแบบวิดีโอ Podcast บทความ พร้อมชวนอาจารย์พิเศษมากมาย มาช่วยสอนในบางรายวิชา เช่นเซอร์เดวิด แอดเทนบะระ นักธรรมชาติวิทยา มาสอนวิชาภูมิศาสตร์ หรือ ศ. ไบรอัน คอกซ์ นักฟิสิกส์ มาสอนเรื่องแรงโน้มถ่วงและระบบสุริยะ

david_txt
brian_clipartbrian_txt
arrow
circle

3

Virtual Classroom
โดยกระทรวงศึกษาธิการ

argentina_flag

อาร์เจนตินา

ฝั่งละตินอเมริกา ก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ในอาร์เจนตินา กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับสำนักเลขาธิการสื่อและการสื่อสารสาธารณะ จัดทำโปรแกรม “Seguimos Educando” ช่องทางจัดสรรทรัพยากรหลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้เด็กทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการเรียนทางไกลได้ โดยมีให้ตั้งแต่ Notebook ไปจนถึงนวัตกรรมสุดล้ำอย่าง Virtual Classroom เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก ๆ แบบ 360 องศา

circle

4

Internet Balloon
แก้ปัญหาไม่มีอินเทอร์เน็ต

kenya_flag

เคนย่า

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เป็นอีกอภิมหาปัญหา ที่ทั่วโลกต้องเผชิญหน้า โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา สำนักงานการบินพลเรือนของเคนย่าจึงจับมือร่วมกับ Alphabet Inc. และ Telkom Kenya ส่งบอลลูนหลายลูกลอยขึ้นฟ้าเพื่อสร้างเครือข่ายกระจายอินเทอร์เน็ต 4G ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ห่างไกล โดยบอลลูนเหล่านี้สามารถกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ภายในรัศมี 40 กิโลเมตรโดยรอบ ต่อบอลลูน 1 ลูก

สถานศึกษาหลายแห่งก็พยายามปรับตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมกับมาตรการที่สร้างสรรค์
border

สถานศึกษา
ทำอะไร?

ภาครัฐ

peoplemuted

ครู/ห้องเรียน

peoplemuted

ผู้ปกครอง/บ้าน

peoplemuted
platform
circle

1

โฟกัสที่คนสอนและร่วมมือกับ แพลตฟอร์มรายใหญ่

china_flag

มหาวิทยาลัย Zhejiang
จีน

การปรับการสอนมาเป็นรูปแบบทางไกล อาจดูเป็นเรื่องใหญ่ แต่สำหรับมหาวิทยาลัย Zhejiang ซึ่งพัฒนาแพลตฟอร์ม เรียนออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2017 การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นแค่พริบตา โดยหลังเร่งอบรมบุคลากรตั้งแต่กลาง ก.พ. 2020 มหาวิทยาลัยก็สามารถเปิดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้แทบจะเต็มรูปแบบ ประกอบด้วยห้องเรียนกว่า 5,000 คอร์ส รวมทั้งยังมีแพลตฟอร์มสอนแบบ Live Stream ที่จับมือทำร่วมกับ Alibaba โดยมีผู้เข้าชมกว่า 300,000 คน

source :youtubeZhejiang University

circle

2

ออกแบบนโยบายห้องเรียนออนไลน์ในฝัน

china_flag

โรงเรียนนานาชาติ RDF
จีน

จะดึงความสนใจเด็กอย่างไร ให้อยู่กับบทเรียนออนไลน์ได้ตลอดรอดฝั่ง? คงเป็นปัญหาใหญ่ที่คุณครูหลายคนคิดไม่ตก ผอ. โรงเรียนนานาชาติ RDF ในจีน จึงออกมาแชร์นโยบายห้องเรียนออนไลน์ในฝัน ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและดึงดูดไม่ให้เด็กหลับคาจอไปเสียก่อน

policy
circle

3

รถโรงเรียน รับส่ง Wi-Fi

usa_flag

Arizona, Texas, Indiana, South Carolina
สหรัฐอเมริกา

เมื่อโรงเรียนทั่วสหรัฐฯ ประกาศปิดเรียนรถรับ-ส่ง สีเหลือง จึงถูกปลดประจำการไปโดยปริยาย แต่เพื่อไม่ให้เสียเปล่า โรงเรียนหลายแห่งในรัฐต่าง ๆ ทั้ง Arizona, Texas, Indiana, South Carolina จึงผุดไอเดียสุดบรรเจิด หาทางนำรถรับ-ส่ง นักเรียนที่จอดนิ่ง ๆ ให้กลับมาวิ่งอีกครั้ง โดยติด Router Wi-Fi กระจายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปกับรถด้วย ก่อนส่งเข้าไปในย่านห่างไกล ที่เด็ก ๆ หลายคนยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ทำให้เจ้ารถรับส่งไม่ว่างงาน ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็มีอินเทอร์เน็ตใช้สำหรับเรียนออนไลน์ไปด้วย

ครู/ห้องเรียน
ทำอะไร?

frame

ภาครัฐ

peoplemuted

สถานศึกษา

peoplemuted

ผู้ปกครอง/บ้าน

peoplemuted
แม้แต่ในระดับห้องเรียน ครู/อาจารย์ ก็พยายามคิดค้นกลวิธีใหม่ ๆ เพื่อให้การเรียนทางไกลเกิดขึ้นได้จริง
labelhomeroom
circle

1

ลิสต์สำหรับดูแลเด็ก ๆ จากครอบครัวเปราะบาง

england_flag

สหราชอาณาจักร

การเรียนทางไกลไม่ใช่แค่เรื่องของเด็ก แต่ผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้ลูก ๆ มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการเรียน Molly คุณครูชั้นประถมในสหราชอาณาจักรจึงลิสต์รายชื่อเด็กที่ครอบครัวเปราะบาง เพื่อคอยสังเกตและหมั่นติดต่อกับพ่อแม่ของนักเรียนเหล่านั้นอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนของเธออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พร้อมสำหรับการเรียน และคอยเก็บ Feedback จากพ่อแม่เป็นระยะ เพื่อสำรวจว่าเด็ก ๆ คิดอย่างไรกับคลาสเรียนของเธอ

label
circle

2

คลาสประวัติศาสตร์ผ่าน Virtual Tour

usa_flag

สหรัฐอเมริกา

การสอนในห้องเรียนว่ายากแล้ว วิชาที่ต้องออกไปทัศนศึกษา เพื่อสัมผัสการเรียนรู้นอกห้องเรียนยิ่งไม่ต้องพูดถึง อย่างไรก็ตาม Myron Curtis คุณครูวิชาประวัติศาสตร์จาก High School ในรัฐเวอร์จิเนียร์ ได้นำเอาเทคโนโลยีอย่าง Virtual Tour  เข้ามาช่วย เพื่อให้คลาสประวัติศาสตร์ของเขา เสมือนการลงพื้นที่จริงมากที่สุด นอกจากนี้ Myron ยังพาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกของเด็ก ๆ โดยการถ่าย Clip บทเรียนหรือคำถาม ให้นักเรียนในคลาสเข้ามาแลกเปลี่ยนและตอบกันทาง Twitter และ TikTok ของเขา

history_2
scroll_symbol
production_flash
label
circle

3

Production From Home เปลี่ยนบ้านเป็นสตูดิโอ

usa_flag

สหรัฐอเมริกา

ในระดับมหาวิทยาลัยที่การเรียนการสอนซับซ้อนและมีองค์ประกอบมากขึ้น โดยเฉพาะในวิชาที่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ ไม่ว่าจะกล้องเอย หรือโปรแกรมตัดต่อเอย วิชาอย่าง TV Production จึงดูเป็นคลาสที่ท้าทายสุด ๆ มหาวิทยาลัยอย่าง The University of the District of Columbia จึงแก้ปัญหานี้โดยการส่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้เด็กไปทดลองทำที่บ้าน ขณะที่การสอนตัดต่อหรือทำกราฟิกต่าง ๆ โปรแกรมอย่าง Zoom ซึ่งสามารถแชร์หน้าจอได้ ก็ถูกดึงเข้ามาเป็นอีกหนึ่งผู้ช่วยในการสอน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้กันแบบใกล้ชิดติดขอบจอ

labellabel
circle

4

Lab From Home
เปลี่ยนบ้านเป็นห้องทดลอง

usa_flag

สหรัฐอเมริกา

Prof. Marianna Katherine Linz ประจำภาควิชาธรณีวิทยา ของฮาวาร์ด แก้ปัญหานักศึกษาเข้า Lab ไม่ได้ ด้วยการพา Lab ไปหานักศึกษาเอง โดยแจกอุปกรณ์ทดลองต่าง ๆ  ให้ไปทดลองที่บ้าน ก่อนจะใช้โปรแกรม Zoom ในการติดตามผล

video_top
rope
label
circle

5

Interactive Power Point

usa_flag

สหรัฐอเมริกา

อาจารย์มหาวิทยาลัยบางท่าน อาจมีปัญหากับการ Live สอนผ่านโปรแกรมต่าง ๆ Prof. Jeff W. Lichtman อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาโมเลกุลและเซลล์ของฮาวาร์ด จึงเลือกใช้เครื่องมือที่สุดแสนจะ Simple อย่าง Power Point ในการทำสื่อการสอน 70 กว่าบทเรียนของเขา แต่เพื่อไม่ให้นักเรียนเบื่อซะก่อน เขาจึงเพิ่มลูกเล่นให้ Power Point โดยใส่ Function Interactive ต่าง ๆ เข้าไป โดยนักเรียนจะต้องคอยกดคำถามที่ Pop-Up ขึ้นมาเรื่อย ๆ ทำให้ตื่นตัวได้ดีทีเดียว

label

ผู้ปกครอง/บ้าน
ทำอะไร?

bg
emoji

ภาครัฐ

peoplemuted

สถานศึกษา

peoplemuted

ครู/ห้องเรียน

peoplemuted

นอกจากนักเรียน หรือ คุณครูแล้ว อีกภาคส่วนที่สำคัญและได้รับผลกระทบจากการเรียนทางไกลไม่น้อยกว่าใคร ก็คงหนีไม่พ้นพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ต้องคอยดูแลบุตรหลาน พร้อมไปกับการ Work from Home

เราไปดูกันดีกว่า
ว่าพ่อแม่ทั่วโลกรับมืออย่างไร เมื่อลูก ๆ หลาน ๆ ต้องเรียนทางไกลจากที่บ้าน
pin

แบ่งเวรกับสามีเพื่อดูแลลูก ๆ ทั้ง 2 คน โดยใน 1 วัน ภาระการดูแลลูกจะเป็นหน้าที่หลักของพ่อหรือแม่เพียงคนใดคนหนึ่ง เพื่อให้อีกคนใช้เวลานี้จัดการภาระงานของตัวเอง ก่อนที่ในวันถัดไป จะสลับหน้าที่ เพื่อให้ได้มีเวลาและสมาธิ ทั้งสำหรับการดูแลลูกกับรับผิดชอบงานของตัวเอง

Claudia Gladish

คุณแม่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

pin

อนุญาตให้ลูก ๆ นอนได้จนถึง 09.00 น. เพื่อใช้เวลาช่วงเช้าในการเคลียร์ภาระงานอื่น ๆ จนเมื่อเคลียร์เสร็จ ช่วงตั้งแต่ 09.00 น. เช้าเป็นต้นไป ก็จะสามารถปลีกเวลามาดูแลลูก ๆ ที่จะตื่นเข้ามาเรียนหนังสือผ่านออนไลน์พอดี

Roberta Andrade

คุณแม่ใน São Paolo ประเทศบราซิล

pin

ณัฐพงษ์ ลดาวรรษ์
สิริรัตน์ เตชะเลิศสุวรรณ

คุณพ่อคุณแม่ชาวไทย ในสหรัฐอเมริกา

ในประเทศไทยเอง.. หลายหน่วยงานก็พยายามออกแบบ มาตรการและโมเดลการเรียน/การสอนรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล สามารถเข้าถึงการศึกษาได้

กสศ. กับความพยายาม
ช่วยเหลือนักเรียนในช่วงชั้นรอยต่อ

“สำหรับคนที่มีรายได้น้อย คนที่เป็นกลุ่มเปราะบางในสังคม โรงเรียนเป็นมากกว่าการศึกษา โควิด-19 ที่เข้ามา ทำให้เราเห็นโจทย์ที่มากไปกว่าการเรียนรู้ เรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงของครอบครัว”

ดร. ไกรยส ภัทราวาท

รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

Starfish Labz
กับนวัตกรรม Learning Box

starfish_logo

“ถ้าเด็กเราเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ได้ แล้วจะจัดการเรียนการสอนทางไกลอย่างไร … โควิด-19 ทำให้เรากลับมาคิดว่า อะไรคือสิ่งที่มีความหมายและความจำเป็นที่สุดในการจัดการเรียนรู้ อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เด็กเรียนต่อไปได้ ถ้าเราคิดได้ อันนั้นแหละคือสิ่งที่ควรอยู่ใน Box ของเรา”

ดร. นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร

นักการศึกษานวัตกรรมใหม่, CEO Starfish Education

มีอะไรบ้างภายใน Learning Box
ของ Starfish Labz

drag_symbol

เลื่อนภายในกล่องเพื่อดูของ

box_topbox_top_mb
box_bottombox_bottom
content_boxcontent_box
volunteer

สิ่งที่ต้องไปพร้อมกับกล่อง คือ คน

ถ้าส่งแต่กล่องไปให้ สิ่งนี้จะไม่สำเร็จเพราะเด็กใช้ไม่เป็น ต้องมีอาสาสมัครในแต่ละชุมชน เช่น พ่อแม่ ครู หรือรุ่นพี่ เพื่อช่วยแนะนำการใช้กล่อง

อย่างไรก็ตาม โมเดลการศึกษาเหล่านี้ ก็ยังอยู่ในขั้นทดลองปฏิบัติ ภายในโรงเรียนนำร่องบางพื้นที่เท่านั้น

คำถามสำคัญข้อต่อไปคือ

“เรียนทางไกล” แบบไหน? ที่เด็กไทยทุกคนไปถึง

“เราต้องยอมรับว่าโรงเรียนในประเทศไทยหลากหลายมาก ๆ ไม่มีทางที่โมเดลใดโมเดลหนึ่ง จะเหมาะสมกับทุกโรงเรียน เพราะฉะนั้นแนวทางการพัฒนาที่ดี จึงต้องมองผ่านเลนส์ของ 3 เสาหลัก และมองเป็นรายพื้นที่….รายกรณีไป….”

ครูจุ๊ย – กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ

นักการศึกษา, ประธานกรรมการบริหาร
โรงเรียนต้นกล้า จ.เชียงใหม่

ไม่ว่าโมเดลการเรียนทางไกลจะหน้าตาเป็นอย่างไร
รูปแบบที่ใช่ต้องพัฒนามาจากความต้องการของ
3 เสาหลัก
diagram

ปัญหาโครงสร้างการศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน คือ การสำรวจแต่ไม่นำ Data มาใช้ มุ่งพัฒนาโดยไม่ไตร่ตรองถึงความต้องการพื้นฐานอย่างถี่ถ้วน Top - Down เก่งแต่ไม่เน้น Bottom - Up (รัฐไทยมักออกแบบแนวทางการพัฒนาด้วยความคิดตนเองมากกว่าการยึดโยงตามสิ่งที่ 3 เสาหลักต้องการมากที่สุด)

แล้วอะไรคือความต้องการส่วนใหญ่ ของ 3 เสาหลักในประเทศไทย…?
draw_linedraw_line
arrow_right_buttonpeople_want
ทั้งนี้ทั้งนั้น ความต้องการของทั้ง 3 เสาหลักต้องสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยสุดท้ายโมเดลที่ได้ต้องมีความยืดหยุ่นสูง และไม่ถูกกะเกณฑ์ให้เป็นมาตรฐานสำหรับทุก ๆ โรงเรียน เนื่องจากบริบทความต้องการของแต่ละพื้นที่ ย่อมไม่เหมือนกัน

วิกฤตโรคระบาดทำให้ระบบการศึกษาทั่วโลกต้องหันกลับมาทบทวนแก่นหลักของการจัดการเรียนการสอน และพลิกแพลงหากลวิธีใหม่ ๆ เพื่อคงให้กิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนยังเกิดขึ้นได้แม้จะไม่มีการพบปะกัน อย่างไรก็ตามการเรียนทางไกล หรือ Remote Learning ทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่ยังเป็นการลองผิดลองถูกซึ่งปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และไม่มีโมเดลไหนที่ถูกขนานนามว่าดีที่สุด

ในทำนองเดียวกัน สำหรับบริบทการศึกษาไทยที่มีความแตกต่างหลากหลาย ปัญหาหรือความต้องการของเด็ก คุณครู หรือ ผู้ปกครอง ในแต่ละพื้นที่ล้วนต่างกัน การออกแบบโมเดลการเรียนการสอนทางไกลที่จะยืดหยุ่นมากพอ สำหรับปรับใช้ได้กับทุกโรงเรียน จึงเป็นความท้าทายที่มีผู้ส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกภาคส่วน ยังคงต้องทำงานร่วมกันต่อไป...

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO)
  • Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD)
  • World Bank
  • www.gov.uk
  • British Broadcasting Corporation (BBC)
  • www.educ.ar
  • Zhejiang University
  • RDF International School
  • Myron Curtis
  • Marianna Katherine Linz
  • Jeff W. Lichtman
  • รศ. ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
  • ผศ. ดร. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช
  • ผศ. ดร. มรรยาท อัครจันทโชติ
  • Roberta Andrade
  • Claudia Gladish
  • สิริรัตน์ เตชะเลิศสุวรรณ
  • ณัฐพงษ์ ลดาวรรษ์
  • ดร. นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร
  • กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ

Content & Visualization by Thai PBS, Punch Up