ออกแบบอย่างไร?
ให้ไม่ทิ้งใคร...ไว้ข้างหลัง
ทุกวันนี้เราอาศัยอยู่ในสังคมที่อุดมไปด้วยความหลากหลาย ผู้คนต่างเพศ ต่างวัย ล้วนใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน

18% ของประชากรไทย เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ซึ่งเท่ากับ 12 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ภายในเวลา 50 ปี และคาดการณ์ว่า ในปี 2565 ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุมากถึง 20% ซึ่งจะทำให้กลายเป็น
"สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์"

ข้อมูลจากรายงานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ปี 2563

ขณะที่ 3.2% ของประชากรไทย เป็นคนพิการ ซึ่งเท่ากับ 2,092,595 คน

ข้อมูลจากการสำรวจจำนวนการออกบัตรประจำตัวคนพิการ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2564

6 ประเภท "ความพิการ"

ตามหลักเกณฑ์ของ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย

1,043,192 คน

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือการสูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา รวมถึง ความบกพร่องหรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว

ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย

394,259 คน

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องทางการได้ยิน แบ่งออกเป็น หูหนวก หูตึง รวมถึง คนที่มีข้อบกพร่องทางการสื่อความหมาย เช่น พูดไม่ได้ หรือ พูดแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ ฯลฯ

ความพิการทางการเห็น

190,767 คน

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็น แบ่งย่อยออกแบบ ตาบอด และ ตาเห็นเลือนราง

ความพิการทางจิตใจ พฤติกรรม หรือออทิสติก

179,511 คน

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนการรับรู้อารมณ์ ความคิด รวมถึงกลุ่มออทิสติก ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา การสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง ที่แสดงก่อนอายุ 2 ปี ครึ่ง

ความพิการทางสติปัญญา

142,667 คน

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 18 ปี

ความพิการทางการเรียนรู้

13,126 คน

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องทางด้านการอ่าน เขียน คิดคำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่น ๆ ซึ่งสามารถแสดงความสามารถได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา

นอกจากนี้ยังมีประชากรไทยอีก 129,073 คน ผู้มีลักษณะความพิการมากกว่า 1 ประเภท และ รอข้อมูลยืนยัน

จากสถิติพอจะเห็นได้ว่า มีผู้สูงอายุและคนพิการอยู่ร่วมในสังคมกับเราไม่น้อย แล้วคุณคิดว่าสภาพแวดล้อมเมืองไทย เหมาะกับการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้แค่ไหน

เรามาดูกันดีกว่าว่า การออกแบบเมืองในสังคมไทย
ทำให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุและคนพิการในเมืองไทย
ต้องพบเจออะไรบ้าง

ชีวิตในบ้าน

ชีวิตกับการ
เดินทาง

ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ

จากการออกแบบที่ทอดทิ้ง
ใครหลายคนไว้ข้างหลัง

เราจะแก้ปัญหานี้กันอย่างไร?

ในวงสนทนาเรื่องการออกแบบทั่วโลก มีการพูดคุยถึงแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทุกคน หรือที่เรียกกันว่า

Universal
Design

Universal Design เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงการเข้าถึงและใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันของคนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ คนป่วย สตรีมีครรภ์ ฯลฯ โดยไม่ได้หมายรวมแค่การออกแบบสิ่งแวดล้อม สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเท่านี้ แต่รวมถึง การบริการรูปแบบต่าง ๆ อีกด้วย โดยอาจเรียกรวม ๆ ว่า Urban Design

Universal Design ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 7 อย่าง

Fairness

ความเสมอภาคในการใช้งาน

Flexibility

ความยืดหยุ่นในการใช้งาน

Simplicity

มีความเรียบง่ายและเข้าใจง่าย

Understanding

มีข้อมูลพอเพียงสำหรับการใช้งาน

Safety

ทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด

Energy Conservation

สามารถทุ่นแรง

Space

มีขนาดและพื้นที่ที่เหมาะสม

โดยหลักการเหล่านี้ ไม่เพียงแค่นักออกแบบ วิศวกร หรือสถาปนิกเท่านั้นที่ต้องคำนึงถึง แต่หากเราตั้งใจจะสร้างเมืองที่เหมาะสมกับทุกคน.....อย่างแท้จริง Universal Design ก็เป็นแนวคิดที่ทุกคนในสังคมต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญ

มาดูกันดีกว่าว่า Universal Design ช่วยแก้ปัญหาอะไรให้เราได้บ้าง

นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ในเชิงนโยบายสำหรับประเทศไทยเอง ก็มีตัวบทกฎหมายหลายข้อ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในแง่มุมที่เกี่ยวกับการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น

  • กฎกระทรวง กำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ ยานพาหนะ และการบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556
  • กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา (ฉบับที่ 2) 2564 และอีกมากมาย

อย่างไรก็ตามในเชิงปฏิบัติ การบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้ยังคงหละหลวมอย่างมาก เห็นได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ซึ่งถูกละเลย ไม่ได้รับการบำรุงรักษา หรือมีให้บริการไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

คนพิการ/ผู้สูงอายุ คิดเห็นอย่างไร?...กับเมืองที่ทิ้งพวกเขาไว้ข้างหลัง

เปิดโหมดภาษามือ

คุณมานิตย์ อินทร์พิมพ์

นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิคนพิการ

คุณนลัทพร ไกรฤกษ์

บรรณาธิการ ThisAble.me

ศ.ดร. วิพรรณ ประจวบเหมาะ

คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Universal Design: ช่วยสร้างเมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เปิดโหมดภาษามือ

รองศาสตราจารย์ ไตรรัตน์ จารุทัศน์

หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุและคนพิการ ยังถือเป็นกลุ่มคนอีก 2 กลุ่มที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากท่ามกลางโครงสร้างเมืองและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ไม่ตอบโจทย์ หนึ่งในต้นตอปัญหาอาจมาจากทัศนคติของสังคมไทย ที่ยังไม่ได้มองคนทั้ง 2 กลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างแท้จริง

...

หลักคิด Universal Design ที่ว่าด้วยเรื่องการออกแบบซึ่งคำนึงถึงการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของทุกคน จึงเป็นแนวคิดที่สังคมไทยควรนำมาปรับใช้โดยเร่งด่วน และไม่เพียงแค่นักออกแบบ สถาปนิก หรือวิศกรเท่านั้น "เราทุกคน" ก็ควรจะระลึกถึงประเด็นนี้ หากต้องการจะสร้างเมืองที่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง เพราะสุดท้ายแล้ว คนพิการ ผู้สูงอายุ หรือไม่ว่าใครก็ตาม อาจไม่ได้ต้องการทางเดินที่สร้างขึ้นมาพิเศษสำหรับพวกเขาโดยเฉพาะ แต่เป็นทางเดินที่ทุกคนสามารถเดินไปด้วยกันได้
"อย่างเท่าเทียม"

แล้วคุณล่ะ?....
คิดว่าการออกแบบ
เรื่องใด ควรได้รับการ
แก้ไขโดยเร็วที่สุด

Share

ขอบคุณข้อมูลจาก
  • มานิตย์ อินทร์พิมพ์ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิคนพิการ
  • นลัทพร ไกรฤกษ์ บรรณาธิการ ThisAble.me
  • ศ.ดร. วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ. ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน
  • เพียงฝัน นาคสุขไพบูลย์ นักวิจัยทางการแพทย์
  • รศ.ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ กุมารแพทย์ ( ประสาทวิทยา ) ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
  • กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  • องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  • Facebook Page Mayday
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  • สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชุมชน Sweetwater Spectrum
  • บริษัทบริหารโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟของประเทศเนเธอร์แลนด์ ProRail
  • The Museum of Modern Art (MoMA)
  • องค์กรไม่แสวงหากำไร The Ed Roberts Campus
  • บริษัท AART
  • แอปพลิเคชัน be my eyes
  • เว็บไซต์ Medtech Boston
  • เว็บไซต์ Accessibility Is Freedom

Content & Visualization by Thai PBS, Punch Up

กลับไปด้านบน