loader image

ท่องโลกแห่งราง

เส้นทาง จุดเปลี่ยน “รถไฟไทย”

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2567 มีทางรถไฟเปิดให้บริการแล้ว

มากกว่า 4,814 กิโลเมตร

เส้นทางทั้งหมดนั้น ไม่เพียงขนส่งผู้คนและสิ่งของให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย

แต่ยังนำพา…

“ความฝัน – ความหวัง”

ของผู้คนในประเทศ ด้วยการเป็น

ขนส่งราคาย่อมเยา
ขนส่งได้มาก
และขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หากดูขีดความสามารถรถไฟไทยในปัจจุบัน

ต้นทุนขนส่งต่ำ

0
บาท/ตัน/กิโลเมตร

ขนส่งผู้โดยสาร

0
คน/ชั่วโมง

ขนส่งทางราง

ใช้พลังงานต่ำกว่าทางถนน

0
เท่า

ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

จากข้อมูลอาจประเมินได้ว่า เมื่อเทียบกับขนส่งประเภทอื่น รถไฟน่าจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ

แต่ในมุม “ผู้โดยสาร”

รถไฟใช่ตัวเลือกแรกหรือไม่ ?

สัดส่วนการเดินทางของคนไทย ปี 2560
เมื่อเทียบเป็นจำนวน 100 คน

จะเห็นได้ว่า
รถไฟไม่ใช่ตัวเลือกแรก

ด้วยความสะดวกในการเดินทาง

คนไทยส่วนใหญ่เดินทางด้วย รถยนต์” มากกว่าขนส่งสาธารณะ

หนึ่งในเหตุผลที่มักถูกหยิบยกมาวิพากษ์ในสังคมถึงการไม่เลือกใช้บริการ คือ

รถไฟไทยดูล้าสมัย

และการเข้าถึงที่ค่อนข้างยาก

รถไฟไทยล้าสมัยจริงหรือไม่ ?

ชวนฟัง “แฮม วันวิสข์ เนียมปาน” แฟนพันธุ์แท้รถไฟไทย

Play Video

สรุปได้ว่า รถไฟที่ใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ไม่มีใช้มาจนถึงตอนนี้แล้ว ส่วนรูปร่างที่อาจจะดูเชยนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบ การใช้สี

ถ้ามันเก่า อายุนานมาก ๆ แต่ยังดูแลรักษาความสะอาดอย่างดี บำรุงรักษาอย่างดี มันก็คือของเก่าที่น่าใช้ แล้วมันก็เรียกว่าคลาสสิก แต่ถ้ามันเก่าโทรมจากการชำรุด ความบกพร่อง ก็เป็นการบ้านที่ผู้ให้บริการต้องนำไปคิดว่า จะต้องทำอย่างไรที่จะปรับปรุงภาพลักษณ์

สำหรับรถไฟไทยก็มีการทยอยทำ ไม่สามารถทำตู้มเดียวได้ เพราะการดึงตู้รถไฟออกมาเพื่อปรับปรุง เท่ากับจะต้องออกจากการบริการ...

รถไฟไทยในปัจจุบันมีกี่แบบ

กว่าจะมาเป็นรถไฟเช่นปัจจุบัน
อดีต…เป็นมาอย่างไร ?

รถระบบรางถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอังกฤษ
เมื่อประมาณ 300 ปีก่อน

ช่วงแรกใช้ม้าลากจูง และนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่ถ่านหิน ในปี พ.ศ. 2320

ก่อน “ริชาร์ด เทรวิธิค” (Richard Trevithick) จะคิดค้น “รถจักรไอน้ำ” คันแรกของโลกได้

หลักการคือ ใช้พลังแรงดันสูงจากไอน้ำ อันเกิดจากการต้มน้ำเดือด ในการดันลูกสูบเพื่อหมุนล้อ

จริง ๆ แล้วไทยก็ให้ความสำคัญ และลงทุนระบบราง

ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5

ทางรถไฟสายแรกของไทย คือ

กรุงเทพฯ – สมุทรปราการ (ปากน้ำ)

ระยะทาง 21 กิโลเมตร รัฐบาลไทยได้อนุมัติสัมปทานให้แก่ บริษัทชาวเดนมาร์กดำเนินการ (ดำเนินการโดยเอกชน)

เปิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436

ในหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เปิดทางรถไฟหลวงสายแรกของไทย

กรุงเทพฯ – อยุธยา

ระยะทาง 71 กิโลเมตร
ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439

เป็นทางรถไฟหลวงระยะแรกที่ก่อสร้างเสร็จ

จากเส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา นับเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางด้วยรถไฟไทย และเป็นวันสถาปนาการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน

ภายหลังมีทางรถไฟ “กรุงเทพฯ – นครราชสีมา” ไทยได้นำเข้าหัวรถจักรไอน้ำจากหลายประเทศ ได้แก่

รถจักรไอน้ำ

นอกจากดำเนินกิจการรถไฟในประเทศไทย

รถจักรไอน้ำยังถูกใช้เป็นยานพาหนะสำคัญในช่วงสงครามโลกอีกด้วย

หลายคันได้รับความเสียหาย อีกหลายคันชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา แต่บางคันยังวิ่งในโอกาสพิเศษถึงปัจจุบัน อาทิ

25 มีนาคม พ.ศ. 2567
เจ้าหน้าที่การรถไฟได้นำ “รถจักรไอน้ำแบบแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850” ออกมาบำรุงรักษา
เพื่อลงวิ่งในวันสถาปนากิจการรถไฟ 127 ปี

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น

ในจุด ๆ หนึ่งที่ “รถจักรไอน้ำ” พัฒนาจนสุดทางแล้ว ได้มีการค้นพบนวัตกรรมใหม่ คือ

“เครื่องยนต์ดีเซล”

ทั่วโลกเริ่มหันหลังให้รถจักรไอน้ำ เพราะรถจักรดีเซลมีประสิทธิภาพดีกว่าแทบทุกด้าน

หลักการของรถจักรดีเซล คือ ใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า เพื่อหมุนมอเตอร์ลากจูง

ในปี พ.ศ. 2471

ไทยนำเข้ารถจักรดีเซลมาใช้เป็นรุ่นแรกในประเทศไทย และเป็นคันแรกในทวีปเอเชีย

ช่วงแรกเป็นการทดลองนำมาใช้ ให้ผลดีทั้งสมรรถนะการใช้งาน และความประหยัด กรมรถไฟจึงตัดสินใจนำรถจักรดีเซล มาใช้ในงานทั่วไป

รถไฟไทยอาจใกล้ถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้ง

ในปี 2565

การรถไฟเปิดตัวหัวรถจักร EV คันแรก
ผลการทดลองพบว่า มีประสิทธิภาพดีกว่าหัวรถจักรดีเซล ทั้งด้าน

หัวรถจักรไฟฟ้า (EV)
“MINE Locomotive”


หัวรถจักรพลังงานแบตเตอรี่ คันแรกในไทย เกิดขึ้นจากความร่วมมือ

เริ่มทดลองใช้งานแล้ว มีประสิทธิภาพ อาทิ

หลักการของรถจักรไฟฟ้า คือ ใช้ไฟฟ้าหมุนมอเตอร์ลากจูง เป็นรถจักรที่มีกำลังสูงมากกว่าประเภทอื่น ๆ

แต่ถ้าจุดที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า และไม่ใช่ว่าทุกประเทศบนโลกใบนี้ จะใช้ไฟฟ้าโดยไม่มีดีเซล

ฉะนั้น สำหรับเส้นทางรถไฟที่ไม่ใช่สายหลัก โซนย่อย ๆ การเข้าไปในป่าในเขา เมืองเล็ก การติดตั้งระบบไฟฟ้า คือ การสิ้นเปลืองมาก ก็จะใช้ระบบดีเซลเหมือนเดิม

ในอนาคตอันใกล้

การรถไฟฯ คาดหวังนำหัวรถจักรขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้ามาลากจูงขบวนรถโดยสาร และขบวนรถบรรทุกสินค้า ควบคู่กับระบบดีเซล เป็นการผสมผสานเทคโนโลยี

Share This

Facebook
X (Twitter)

Created by

Digital Media Department

Content Creator
Chalee Nawatharadol
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya

Graphic and Web Designer
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon