การต่อสู้ การเรียกร้อง และการได้มาซึ่ง...
"สิทธิ" เพศเดียวกันแต่งงานถูกกฎหมาย
จนกระทั่งผ่านมา 31 ปี ในปี 2543 สภานิติบัญญัติของเนเธอร์แลนด์ได้ผ่านกฎหมาย และกลายเป็นประเทศแรกที่รับรองให้การแต่งงานของเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย ในปี 2544
โดยหลังจากนั้นก็มีอีกหลายประเทศทยอยนำร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับแต่งงานของ LGBTQ+ มาพิจารณากันอย่างกว้างขวางและเป็นที่จับตาทั่วโลก ซึ่งกว่าครึ่งของประเทศที่มีการรับรองกฎหมายดังกล่าวอยู่โซนยุโรปตะวันตก
ล่าสุด วันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ประชุมวุฒิสภา (สว.) โหวตผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. หรือ “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” วาระ 3
ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องส่งร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ไปยัง ครม. และนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยจะมีผลใช้บังคับ หลังกฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 120 วัน หรือประมาณช่วงปลายปี 2567
เพศเดียวกันแต่งงานถูกต้องตามกฎหมาย มีประเทศอะไรบ้าง ?
*คลิกดูที่แผนที่
สรุป… เมื่อ “สมรสเท่าเทียม” ผ่านแล้วจะเป็นอย่างไร ?
คู่รักเพศเดียวกันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จะสามารถจดทะเบียนสมรส เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายในแง่ต่าง ๆ อาทิ การรับมรดก, การลดหย่อนภาษี และการรับบุตรบุญธรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ที่รับรองการแต่งงานเพศเดียวกัน ต่อจากไต้หวันและเนปาล และเป็นหนึ่งในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ที่รับรอง “สมรสเท่าเทียม”
*หมายเหตุ: รัฐสภาเนปาลยังไม่ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม
นอกจากกรณี “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” ที่เป็นความก้าวหน้าของความเท่าเทียมทางเพศแล้ว ยังมีอีกประเด็นที่น่าติดตามในอนาคต นั่นคือ ความเท่าเทียมทางเพศในแง่ของบทบาทในหน้าจอโทรทัศน์และภาพยนตร์ ซึ่งจากที่ผ่านมา ยังคงเทน้ำหนักไปที่ “เพศชาย” เป็นหลัก
สำรวจและหาทางออกของความเท่าเทียมทางเพศในรูปแบบ Data Visualization ไปกับ The Visual : เพศ / ซีรีส์ / ภาพยนตร์ เมื่อพื้นที่ของเรา…ไม่เท่ากัน 👉 https://thevisual.thaipbs.or.th/gender-on-screen/
Share This
Created by
Digital Media Department
Content Creator
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya
Graphic and Web Designer
Narongsak Somong