เด็กนักเรียนเดินเซซ้ายเซขวา กว่าจะสะพายกระเป๋าเป้ขึ้นบ่าได้ พ่อแม่ต้องคอยจับ คอยพยุง บางทีก็แทบจะล้ม…
เชื่อว่า หลายคนคงเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ ไม่ว่าจะในฐานะของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ครั้งเป็น “เด็กนักเรียน”
แล้วในแต่ละวัน เด้กนักเรียนตัวน้อย ๆ เหล่านี้ต้อง “แบก(สัม)ภาระ” หนักเท่าไรนะ ?
ลองมาทายกัน
นักเรียนคนไหนแบกกระเป๋านัำหนักเกิน
ทำไมถึงบอกว่า กระเป๋าน้ำหนักเกิน ? ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัด ?
The Visual จะพาไปหาคำตอบ เพราะ “สัมภาระ” หนัก ๆ ใบนี้ อาจกลายเป็น “ภาระ” ที่หนักหนาสาหัสในอนาคตโดยไม่รู้ตัว
ถ้าแบกกระเป๋า น้ำหนักเกิน จะเป็นอย่างไร ?
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
บริเวณต้นคอ หัวไหล่ แขน และเอว จากการถูกกดทับของกระเป๋าหนัก
หลังงอ หลังค่อม
การสะพายกระเป๋าหนัก ทำให้เด็กโน้มตัวไปด้านหน้า เพื่อรักษาสมดุล เมื่อหลังโค้งงอมากกว่าปกติ ส่งผลต่อการคดของกระดูกสันหลัง และการบาดเจ็บตามมาได้
กระดูกสันหลังคด
คนที่ชอบสะพายกระเป๋าหนักด้วยไหล่ข้างเดียวเป็นประจำ กล้ามเนื้อหลังทั้ง 2 ข้าง จะทำงานไม่เท่ากัน ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังคดตามมาได้
“
ปัญหานี้เริ่มส่งผลแบบเฉียบพลันก่อน เช่น อาการกล้ามเนื้อตึง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้จากการแบกของหนัก ระยะยาว จะเป็นอาการบาดเจ็บเรื้อรัง เด็กบางคนจะกลายเป็นคนปวดหลังเรื้อรัง และปัญหาที่เราอาจมองไม่เห็นคือ เด็กในวัย 7-9 ขวบ กระดูกยังยืดตัวได้ดีอยู่ ก็จะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่”
รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ฟังคำอธิบายจาก รศ.นพ. อดิศักดิ์ ฉบับเต็ม คลิกวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลย…
กระเป๋านักเรียนหนัก ปัญหานี้มีอยู่จริง !
หากพิจารณาจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รศ.นพ. อดิศักดิ์ แนะนำว่า การแบกกระเป๋านักเรียนในเด็ก ถ้าจะให้ปลอดภัยเลย คือ น้ำหนักกระเป๋าต้องไม่เกิน 10% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุเด็ก หรืออย่างแย่ที่สุด ต้องไม่เกิน 20% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุเด็ก
เราจึงเอาตัวชี้วัดตรงกลางมาแนะนำ คือ เด็กไม่ควรแบกกระเป๋าหนักเกิน 15% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ
หลัก ๆ จะอยู่ที่ ป.2, ป.3 และ ป.4
ซึ่งมากกว่า 50-60% ของนักเรียน กำลังแบกกระเป๋าหนักรศ.นพ. อดิศักดิ์
สอดคล้องกับผลการศึกษาน้ำหนักกระเป๋านักเรียนของศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ทำร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยสุ่มชั่งน้ำหนักกระเป๋าเด็กนักเรียน ป.1 – ป.6 จำนวน 368 คน
พบว่า เด็กนักเรียนชั้น ป.1 – ป.3 มีความเสี่ยงสูงได้รับอันตรายจากการแบกกระเป๋านักเรียนหนัก
เมื่อพิจารณาเฉพาะนักเรียนที่ใช้กระเป๋าหนักกว่าค่า 10% และ 20% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ ก็พบอีกว่า
เด็ก ป.1 - ป.3 มากกว่า 25% ใช้กระเป๋าหนักกว่า 20% จัดอยู่ในเกณฑ์น้ำหนัก อันตรายสูง อันจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง
และมากกว่า 80% ใช้กระเป๋าหนักกว่าค่า 10% ของน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ จัดอยู่ในเกณฑ์ไม่เหมาะสมต้องแก้ไข
กระเป๋านักเรียน หนัก เท่าไรถึงจะดี ?
อย่างไรก็ตาม… แม้จะมี “คำเตือน” ถึงความอันตรายของการแบกกระเป๋านักเรียนหนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในความเป็นจริง ก็ยังพบ “เด็กนักเรียน” อีกมากที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ ไม่ต่างจากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย
เช่น “น้องมิกิ” คนนี้
น้องมิกิ เป็นนักเรียนหญิงชั้น ป.1 อยู่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งมีกระเป๋านักเรียนให้เลือกใช้ 2 แบบ
ถึงน้องมิกิจะชอบกระเป๋าลากมากกว่า แต่ก็ยอมรับว่า ด้วยห้องเรียนที่อยู่ชั้น 4 ของอาคาร และต้องเดินขึ้น-ลงบันไดทุกวัน การใช้กระเป๋าแบบลากก็นับเป็นอุปสรรคสำหรับน้องมิกิไม่น้อย
กระเป๋าน้องมิกิหนักเท่าไรนะ ?
กระเป๋ามีล้อลาก
2 กิโลกรัม
“การใช้งานจริงยากลำบาก ส่วนใหญ่ยกด้วยมือเดียวมากกว่าลากเข็น และต้องยกขึ้นบันได ได้ลากเข็นจริง ๆ ก็ช่วงที่เจอพื้นเรียบ ๆ หน้าห้องเรียนกับลานกิจกรรมที่ผู้ปกครองไปรับ-ส่ง” แม่น้องมิกิ กล่าว
กระเป๋าสะพาย
1 กิโลกรัม
แม่น้องมิกิยืนยันว่า กระเป๋าสะพายธรรมดาใช้งานได้คล่องตัวกว่า
นี่ยังไม่รวมหนังสือ สมุด เอกสาร กล่องดินสอ ขวดน้ำดื่ม พวงกุญแจของเล่นติดที่ซิปกระเป๋า
ยิ่งช่วงหลังในกลุ่มเด็กประถม นิยมนำถุงลวดลายการ์ตูนที่ชื่นชอบถือติดไปด้วย แม้ใส่ของเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็เป็นภาระการถือและเพิ่มน้ำหนัก ซึ่งน้องมิกิก็เป็นหนึ่งในนั้น
ฉะนั้น พ่อแม่น้องมิกิจึงพยายามให้สะพายกระเป๋านักเรียนแบบธรรมดาไปโรงเรียน เพราะหนักน้อยสุด
(เลื่อนเปิดกระเป๋าน้องมิกิ)
ชั่งน้ำหนักกระเป๋าน้องมิกิ ตาม ตารางสอน หนัก-ไม่หนัก ?
ผลประเมินน้องมิกิ
น้องมิกิอายุ 7 ขวบ มีน้ำหนัก 18 กิโลกรัม หากคำนวณตามหลักการ 15% (น้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ 22 กิโลกรัม)
น้องมิกิไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักเกิน 3.30 กิโลกรัม ฉะนั้น น้องมิกิจะแบกกระเป๋าหนักเกิน 15% เมื่อใช้กระเป๋าแบบมีล้อลาก แต่หากน้องมิกิใช้กระเป๋าสะพายธรรมดา จะแบกไม่เกิน 15%
*ข้อสังเกต : น้องมิกิน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ หากเทียบน้ำหนักจริงกับหลักการ 15% น้องมิกิไม่ควรแบกกระเป๋าหนักกว่า 2.7 กิโลกรัม
จึงอาจสรุปได้ว่า ไม่ว่าจะใช้กระเป๋าแบบใด น้องมิกิก็กำลังแบกกระเป๋าหนักเกิน
ย้อนวัยแชร์ “สิ่งของแปลก” ที่แบกไปโรงเรียน ?
ทางเลือก แก้กระเป๋านักเรียนหนัก
กระเป๋ามีล้อลาก
รศ.นพ. อดิศักดิ์ บอกว่า ลดน้ำหนักได้แน่นอน เพราะแทบจะไม่ต้องแบกเลย จึงไม่มีน้ำหนักถ่วงให้ปวดหลัง แต่ก็มีข้อเสียว่าอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ขึ้นบันไดแล้วเกี่ยว
หรือบางครั้งพื้นถนนบ้านเราไม่เอื้ออำนวยให้ลาก บางครั้งจึงลากบ้าง ยกบ้าง โดยสรุปแล้วยกมากกว่าลาก อันนี้ก็กลายเป็นแบกข้างเดียว จึงต้องระวัง
ตู้เก็บหนังสือที่โรงเรียน
รศ.นพ. อดิศักดิ์ บอกว่า เป็นสิ่งที่โรงเรียนในต่างประเทศมี สังเกตได้จากภาพยนตร์เวลาไปโรงเรียน เด็ก ๆ จะไปที่ล็อกเกอร์ของตัวเองก่อนเลย เป็นสิ่งที่ไทยควรมี
แต่ที่ผ่านมา มักมีคำพูดว่าไม่มีงบฯ แม้จะมีที่เก็บของใต้โต๊ะให้พอเก็บได้ พบว่าโรงเรียนหลายแห่งก็ไม่ได้อนุญาต
E – learning
รศ.นพ. อดิศักดิ์ บอกว่า เทคโนโลยีต่าง ๆ ช่วยลดน้ำหนักได้แน่ แต่ก็ต้องระมัดระวัง อย่างการเพิ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้นักเรียน แต่ครูบางวิชายังให้นำหนังสือมาด้วย ก็หลายเป็นว่ายิ่งไปเพิ่มน้ำหนัก
ขณะเดียวกันการปล่อยให้นักเรียนใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ควบคุมดูแล ก็อาจสร้างปัญหาที่ใหญ่กว่าปัญหากระเป๋านักเรียนหนัก
จัดตารางสอน
รศ.นพ. อดิศักด์ บอกว่า การจัดกระเป๋าเลือกนำสิ่งของไปโรงเรียนให้น้อยที่สุด เป็นอีกทางเลือกที่ทำได้
ทุกฝ่ายต้องช่วยกันออกแบบ อย่างครูสามารถแจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้าว่า วันพรุ่งนี้ต้องเตรียมเอกสารหรือหนังสือมา จะได้ไม่ต้องแบกมาทั้งคู่ ส่วนผู้ปกครอง ต้องช่วยฝึกจัดกระเป๋า ไม่ให้นำสิ่งของที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนไป เช่น ของเล่น
สะพายกระเป๋าให้ ถูกวิธี ก็ช่วยได้
กระเป๋าพอดี – กระจายน้ำหนัก
กระเป๋าเป้ที่ดี ต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับแผ่นหลังเด็ก มีสายสะพาย 2 ข้าง และสายสะพายที่กว้างกว่า 6 เซนติเมตร เพราะสายที่เล็กจะทำให้กดทับบริเวณไหล่ ซึ่งอาจกดลึกจนมีผลต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้
ตัวกระเป๋ายังออกแบบให้มีช่องวางของเพียงพอ และกระจายน้ำหนักได้ทั่วกระเป๋า ไม่หนักฝั่งใดฝั่งหนึ่ง
ปรับสายสะพายให้เหมาะสม
การใช้กระเป๋าแบกหลัง ต้องปรับสายสะพายเพื่อให้กระเป๋าแนบชิดหลังที่สุด ไม่ห้อยต่ำ
จุดสังเกต คือ ก้นกระเป๋าต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าบั้นเอว และผู้ใช้ต้องเดินตัวตรง ไม่เอนตัวไปด้านหน้า เพราะจะทำให้เกิดการถ่วงน้ำหนักและปวดหลัง
ไม่สะพายด้วยไหล่ข้างเดียว
การแบกกระเป๋าต้องใช้สายสะพายไหล่ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้น้ำหนักกระจายตัวอย่างสมดุล การสะพายไหล่ข้างเดียว อาจดูเท่ แต่กระจายน้ำหนักไม่ดี จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการปวดต้นคอ ไหล่ และหลังได้
แล้วคุณล่ะ… คิดว่าวิธีการแก้ไขปัญหา “The แบก ตัวน้อย” แบบไหนที่ดีที่สุดในตอนนี้ ?
Your form has been submitted
ขอบคุณที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการแก้ปัญหาเพื่อ "เดอะแบกตัวน้อย"
We faced problems while connecting to the server or receiving data from the server. Please wait for a few seconds and try again.
If the problem persists, then check your internet connectivity. If all other sites open fine, then please contact the administrator of this website with the following information.
TextStatus: undefined
HTTP Error: undefined
Some error has occured.
The Bag To... "The แบก" ไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ อย่าปล่อยให้ "สัมภาระ" กลายเป็น "ภาระ" ของเด็ก ๆ ในอนาคต
Share This 👇
Content Creator
Chalee Nawatharadol
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya
Graphic Designer
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon
อ้างอิง:
- • สะพายกระเป๋าหนัก ทำให้กระดูกสันหลังคดจริงหรือไม่ : รู้เท่ารู้ทัน
- • เตือน! เด็กแบกกระเป๋า นร.หนักเกิน 10-20% ส่งผลการเรียน
- • สะพายกระเป๋านักเรียนอย่างไร ไม่ให้ปวด : ปรับก่อนป่วย
- • กระเป๋านักเรียนหนักเกินไป อันตรายต่อหลัง | โรงพยาบาลสมิติเวช
- • การสะพายเป้ในวัยเรียน มีความสำคัญอย่างไร | คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
- • เด็กนักเรียนแบกกระเป๋าหนักเกิน ระยะยาวมีผลต่อพัฒนาการความสูง | รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล