ปี 2567
ประเทศไทยไทยเข้าสู่ “ฤดูร้อน”
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์
คาดว่าจะร้อนกว่าปี 2566
และร้อนกว่าปกติประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส
นับตั้งแต่การประกาศเข้าสู่ “ฤดูร้อน” ปี 2567
ไม่ใช่คำบ่นตามฤดูกาลเพียงเท่านั้น
แต่เป็นหนึ่งในสิ่งที่สะท้อนว่า
ปี 2567 ฤดูร้อนนี้ไม่เป็นเช่นเคย…
จากสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของไทยนับตั้งแต่ปี 2494 – 2563 เห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงแต่อุณหภูมิสูงสุดเท่านั้น ยังรวมถึงอุณหภูมิต่ำสุดอีกด้วย
แล้วปีนี้ล่ะ
อุณหภูมิสูงขึ้น หรือแค่ feel like
*อุณหภูมิเฉลี่ย ณ สนามบินดอนเมือง กทม.
อะไรจะเปลี่ยนไปบ้าง เมื่ออากาศร้อนขึ้น
หากย้อนดูช่วงปี 2494 – 2566 เฉพาะเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดแต่ละจังหวัด แตะอยู่ที่ระดับ 37 – 44 องศาเซลเซียส เว้นแต่ จ.นครนายก ที่สูงสุดอยู่ที่ 29.9 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ สถิติ 72 ปีที่ผ่านมา ยังพบอีกว่า
11 เมษายน 2559
เป็นวันที่อุณหภูมิสูงสุด
ทุบสถิติของตัวเองมากถึง 11 จังหวัด
ร้อนจะตายอยู่แล้ว
จะแจวไปหลบร้อน ที่ไหนกันนี่
อีกเมื่อไรร้อนจะหายสักที
หากมีคนปราณี คงคลายหายกลุ้มอุรา
เพลงที่ขับร้องเปรียบเปรยเมื่อ 30 กว่าปีก่อน กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
โดยข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า นับตั้งแต่ปี 2560 มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคลมแดด
หรือ “ฮีทสโตรก” (Heat Stroke) ทุกปี
วันที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด
ของแต่ละเดือนในช่วงฤดูร้อน (2566)
เมื่อพิจารณาความสอดคล้องของสถิติ
อุณหภูมิสูงสุดและอัตราเสียชีวิตจากฮีทสโตรก เห็นได้ว่า เดือนที่มีความเสี่ยงและต้องเฝ้าระวัง คือ
เดือนเมษายน
อะไรคือ สาเหตุ
ที่ทำให้ “ร้อนนี้” ไม่เหมือนเดิม ?
นับตั้งแต่ปี 2343 พบว่า
กิจกรรมของ “มนุษย์”
โดยมีสาเหตุหลัก ๆ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน, น้ำมัน และก๊าซ
หากสังเกตจะเห็นว่า…
หลายพื้นที่เกิด “ภัยแล้ง” และเผชิญวิกฤตด้านสุขภาพ-อาหาร
แม้การหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวันนี้
จะไม่ได้ช่วยให้โลกเย็นขึ้นโดยทันที
แต่ก็ยังไม่สายเกินไป…
ที่จะหลีกเลี่ยงหรือจำกัดผลกระทบอันเลวร้ายจาก Climate Change
โดย NASA เสนอไว้ 2 ระดับ คือ
ปรับตัว เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่กับมัน ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
เพราะ Climate Change
ไม่ใช่แค่ “ร้อนนี้” ที่เปลี่ยนไป
Did You Know
จากข้อมูล Google ระบุว่า
การเดินทางโดย "รถไฟ" เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
หากเทียบกับการบินในระยะทางเท่ากัน การเดินทางโดยรถไฟช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ 85% ต่อผู้โดยสาร 1 คน
และเมื่อเทียบกับการขับรถยนต์ในระยะทางเท่ากัน การเดินทางโดยรถไฟก็จะช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ 87% ต่อผู้โดยสาร 1 คน
🚂 ท่องโลกแห่งราง เส้นทาง จุดเปลี่ยน "รถไฟไทย" 👉 www.thaipbs.or.th/TheVisualRailway
We faced problems while connecting to the server or receiving data from the server. Please wait for a few seconds and try again.
If the problem persists, then check your internet connectivity. If all other sites open fine, then please contact the administrator of this website with the following information.
TextStatus: undefined
HTTP Error: undefined
Some error has occured.