loader image
ข้ามไปยังเนื้อหา
“เธอ” ไม่เปลี่ยนแปลง
“ร้อน” นี้…จึงเปลี่ยนไป

ปี 2567 

ประเทศไทยไทยเข้าสู่ “ฤดูร้อน”

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์

คาดว่าจะร้อนกว่าปี 2566

และร้อนกว่าปกติประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส

Auto text
คำว่า ร้อน
ข้อความ
0

นับตั้งแต่การประกาศเข้าสู่ “ฤดูร้อน” ปี 2567
ไม่ใช่คำบ่นตามฤดูกาลเพียงเท่านั้น
แต่เป็นหนึ่งในสิ่งที่สะท้อนว่า
ปี 2567 ฤดูร้อนนี้ไม่เป็นเช่นเคย…

จากสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของไทยนับตั้งแต่ปี 2494 – 2563 เห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงแต่อุณหภูมิสูงสุดเท่านั้น ยังรวมถึงอุณหภูมิต่ำสุดอีกด้วย

แล้วปีนี้ล่ะ

อุณหภูมิสูงขึ้น หรือแค่ feel like

*อุณหภูมิเฉลี่ย ณ สนามบินดอนเมือง กทม.

อะไรจะเปลี่ยนไปบ้าง เมื่ออากาศร้อนขึ้น

หากย้อนดูช่วงปี 2494 – 2566 เฉพาะเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดแต่ละจังหวัด แตะอยู่ที่ระดับ 37 – 44 องศาเซลเซียส เว้นแต่ จ.นครนายก ที่สูงสุดอยู่ที่ 29.9 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ สถิติ 72 ปีที่ผ่านมา ยังพบอีกว่า

11 เมษายน 2559

เป็นวันที่อุณหภูมิสูงสุด
ทุบสถิติของตัวเองมากถึง 11 จังหวัด

ร้อนจะตายอยู่แล้ว

จะแจวไปหลบร้อน ที่ไหนกันนี่
อีกเมื่อไรร้อนจะหายสักที
หากมีคนปราณี คงคลายหายกลุ้มอุรา

เพลงที่ขับร้องเปรียบเปรยเมื่อ 30 กว่าปีก่อน กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
โดยข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า นับตั้งแต่ปี 2560 มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคลมแดด

หรือ “ฮีทสโตรก” (Heat Stroke) ทุกปี

วันที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด
ของแต่ละเดือนในช่วงฤดูร้อน (2566)

เมื่อพิจารณาความสอดคล้องของสถิติ
อุณหภูมิสูงสุดและอัตราเสียชีวิตจากฮีทสโตรก เห็นได้ว่า เดือนที่มีความเสี่ยงและต้องเฝ้าระวัง คือ

เดือนเมษายน

อะไรคือ สาเหตุ
ที่ทำให้ “ร้อนนี้” ไม่เหมือนเดิม ?

นับตั้งแต่ปี 2343 พบว่า

กิจกรรมของ “มนุษย์”

เป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้เกิดภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกว่า Climate Change
โดยมีสาเหตุหลัก ๆ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน, น้ำมัน และก๊าซ
นี่เป็น “ผลกระทบ” บางส่วนเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริง

หากสังเกตจะเห็นว่า…
หลายพื้นที่เกิด “ภัยแล้ง” และเผชิญวิกฤตด้านสุขภาพ-อาหาร

ช้าไปไหมที่ “เธอ” จะเปลี่ยน ?

แม้การหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวันนี้
จะไม่ได้ช่วยให้โลกเย็นขึ้นโดยทันที

แต่ก็ยังไม่สายเกินไป…
ที่จะหลีกเลี่ยงหรือจำกัดผลกระทบอันเลวร้ายจาก Climate Change

โดย NASA เสนอไว้ 2 ระดับ คือ

บรรเทา ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ปรับตัว เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่กับมัน ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

เพราะ Climate Change

ไม่ใช่แค่ “ร้อนนี้” ที่เปลี่ยนไป

Loading

Share This

Facebook
X (Twitter)

Created by

Digital Media Department

Content Creator
Chalee Nawatharadol
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya

Graphic and Web Designer
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon